Record 2
Monday 16 August 2016 (Make-up class)
Knowledge
เข้าสู่เนื้อหาการจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนะละ 1 แผ่น แล้วเขียน Mind map ของการจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามที่นักศึกษาเข้าใจ โดยแยกคำสำคัญออกมา 3 คำ ได้แก่ การจัดประสบการณ์ วิทยาศาสตร์ และเด็กปฐมวัยวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและค้นหาความจริงของสิ่งต่างๆรอบตัว โดยใช้ทักษะกระบวนการที่ต้องอาศัยการสังเกต การทดลอง ในการหาคำตอบเพื่อแสวงหาความจริงทางวิทยาศาสตร์
เเนวคิดพื้นฐาน
1 ความสมดุล เช่น ความสมดุลของระบบนิเวศน์ถ้าไม่สมดุลจะทำให้มีปัญหา
2 การเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ ป่าไม้ถูกทำลาย
3 ความแตกต่าง เช่น กิ่งไม้เดียวกันแต่ใบไม้มีความแตกต่างกัน
4 การปรับตัว เช่น คนมีต้นกำเนิดการพัฒนามาจากลิง
5 การพึ่งพาอาศัยกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
1 การกำหนดปัญหา
2 ตั้งสมมติฐาน
3 ลงมือปฏิบัติ
4 สรุปผล ตรวจสอบว่าตรงกับสมมติฐานหรือไม่
ตัวอย่าง อยากกินแป้ง = เกิดปัญหา ทำอย่างไรถึงจะกินแป้งได้นำแป้งไปทอด = ตั้งสมติฐาน
ลองชิมดู = ลงมือปฏิบัติการทดลอง เกิดทักษะทางการสังเกตแล้วรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล แป้งสุกนำมากินได้ = สรุปผล
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1 อยากรู้อยากเห็น
2 มีความเพียรพยายาม
3 มีความซื่อสัตย์
4 มีเหตุมีผล
5 มีความใจกว้าง
6 มีระเบียบ รอบคอบ
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ คือ มีส่วนช่วยในการดำรงชีวิต วอทยาศาสตร์สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ ช่วยในการพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆและเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับเรา *มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเรา
ประโยชน์
1 ทำให้ชีวิตสุขสบาย
2 พัฒนาแนวคิดพื้นฐาน
3 ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง
4 ช่วยแก้ปัญหา
5 รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาตให้เกิดประโยชน์
6 ปรับปรุงคุณภาพชีวิต
* ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์อาศัยเครื่องมือในการเรียนรู้ ดังนี้
ทักษะทางคณิตศาสตร์ (การลงความเห็น) ทักษะทางภาษา
ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการจำแนกแยกแยะ
และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับเวลา พื้นที่กับพื้นที่ (ชิ้นใหญ่สุกยาก)
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น การลงมือกระทำโดยประสาทสัมผัสทั้งห้า ผ่านกระบวนการทำงานทางสมอง สมองเป็นพื้นฐานทำให้พัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัยเเตกต่างกัน พัฒนาการเป็นความสามารถของเด็กในแต่ละระดับอายุว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง จึงทำให้ครูมีแนวทางในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก โดยต้องคำนึงถึงพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นสำคัญ
การจัดประสบการณ์มี 2 แบบ
แบบเป็นทางการ เช่น ครูทำให้ดูเด็กทำตาม ครูให้เด็กทำกิจกรรม
แบบไม่เป็นทางการ เช่น การเล่นอิสระตามจินตนาการของเด็ก
เช่น เด็กเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัว สิ่งที่ง่ายๆ นักเรียนยกเก้าอี้ ต้องใช้พลังงานทำให้เกิดแรงเพื่อให้วัตถุเคลื่อนที่ คือ ต้องมีแรงถึงจะยกเก้าอี้ได้
ทักษะ (skill)
- ทักษะการคิด
- ทักษะการสรุปองค์ความรู้
- ทักษะการเขียนสรุปข้อมูล
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี
- ทักษะการประยุกต์
เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- การบรรยาย
- ให้ทำกิจกรรม
- ใช้คำถาม
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
นำความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ไปใช้ในการเรียนการสอน โดยสามารถจัดวิธีการเรียนรู้ได้ตรงกับพัฒนาการของเด็ก และจะสอนวิทยาศาสตร์เด็กในเรื่องใด เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัวเด็ก และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก ควรสอนในเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเเละเด็กเข้าใจ
ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน - เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์ ไม่พูดคุยกัน
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายข้อมูลได้ชัดละเอียดชัดเจน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและรับฟัง
Vocabulary คำศัพท์
content = เนื้อหา
fact = ความจริง
sensori motor = ประสาทสัมผัส
experiences = ประสบการณ์
reason = เหตุผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น