Record 4
Tuesday 30 August 2016
เริ่มคลาสด้วยการคัดลายมือ ก-ฮ อาจารย์อธิบายว่าการคัดลายมือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับครูปฐมวัย เพราะครูจะต้องออกมาเขียนหน้ากระดาน ดังนั้นต้องฝึกไว้เพื่อความเคยชิน จะได้เขียนได้คล่อง และเขียนได้สวยงาม ชัดเจน
คัดตามรอยปะ |
Knowledge
อาจารย์ทบทวนเนื้อหารูปแบบการศึกษาปฐมวัย ที่ให้สรุปจากสัปดาห์ที่แล้ว
คุณลักษณะเด็กปฐมวัย 3-5 ปี : จะเห็นได้ว่าแต่ละช่วงมีความแตกต่างกัน เช่น
ด้านร่างกาย 4 ปี เริ่มควบคุมกล้ามเนื้อได้มากขึ้น ดูได้จาก "ตัดกระดาษเป็นเส้นตรง"
5 ปี จำและควบคุม ดูได้จาก "เขียนรูปตามแบบได้"
ด้านอารมณ์ 4 ปี เริ่มมีความรู้สึกนึกคิด
5 ปี ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง เห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
ด้านสังคม ต้องช่วยเหลือตนเองได้
การทำงานของสมองเป็นพื้นฐาน ------> พัฒนาการ ------> คุณลักษณะตามวัย ----->ธรรมชาติของเด็ก
ทฤษฎีการเรียนรู้ เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรรม
ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน นั่งล้อมวงกัน
และให้ประเด็นปัญหา คือ มีของสองสิ่ง ได้แก่ กระดาษ และคลิป 1 ตัว จะเสริมประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องอากาศอย่างไร
กลุ่มของพวกเราช่วยกันระดมความคิด
ขั้นตอนแรก หาคำตอบของคำว่าอากาศ อากาศคือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ไม่มีตัวตน สัมผัสไม่ได้ แต่เรารู้สึกถึงมันได้ เช่น อากาศเย็น อากาศร้อน อบอุ่น
ขั้นตอนที่สอง พูดคุยกันเกี่ยวกับอุปกรณ์สองสิ่งที่ได้มา ว่าสามารถทำอะไรได้บ้างที่จะสอนเด็กเรื่องอากาศ
ขั้นตอนที่สาม ลองผิดลองถูก โดยการนำกระดาษมาพับเป็นจรวดแต่ก็พบว่าไม่สำเร็จ จึงลองเปลี่ยนมาใช้การเปรียบเทียบระหว่างของสองสิ่งดู
ขั้นตอนที่ 4 ทดลองนำของสองสิ่งโยนลงพื้น สังเกตว่าสิ่งไหนตกสู่พื้นก่อนกัน แล้วหาคำตอบว่าเพราะอะไร
ขั้นตอนที่ 5 เมื่อได้ผลการทดลองก็เกิดคำถามว่าทำไม ของสองสิ่งจึงตกถึงพื้นไม่เท่ากัน จึงลองนำกระดาษมาขยำให้เป็นก้อนกลมๆ แล้วทดลองใหม่ ปรากฎว่าวัตถุตกลงสู่พื้นพร้อมๆกัน
ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน อาจารย์ให้ความรู้เพิ่มเติมว่ารูปแบบการสอนของกลุ่มเราเป็นการจัดประสบการณ์ ให้เด็กได้สังเกต ทดลองเห็นกระบวนการ ได้ตั้งปัญหาตั้งสมมติฐานด้วยตนเอง ในเรื่องนี้สอนในเรื่อง วัตถุที่ตกสู่พื้นไม่พร้อมกัน เพราะว่า กระดาษที่ตกสู่พื้นช้าเป็นเพราะอากาศมันพยุงกระดาษไว้เนื่องจากกระดาษมีพื้นที่มากกว่าคลิปซึ่งไม่มีพื้นที่สำหรับให้อากาศพยุง จึงตกสู่พื้นได้เร็วกว่า
กลุ่มนี้เป็นรูปแบบการสอนโดยการค้นพบด้วยตัวเอง เรียนรู้จากการเล่น โดยพับกระดาษเป็นรถแล้วใส่คลิปไว้ที่หัวกระดาษ แล้วเป่าโดยใช้เเรงลม (อากาศเคลื่อนที่) ทำให้รถเคลื่อนที่ไปได้
กลุ่มนี้เป็นรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อการสอน โดยนำกระดาษมาวาดรูปเป็นรูปอากาศ คือ อากาศร้อน อากาศหนาว อากาศแห้ง อากาศชื้น เป็นการให้เด็กเรียนรู้จากสื่อ
กลุ่มนี้มีแนวคิดเหมือนกลุ่มเรา คือ นำกระดาษและคลิปมาโยนเปรียบเทียบกัน แต่มีรูปแบบการสอนโดยการจัดประสบการณ์และได้เรียนรู้ผ่านการเล่นคือ ทำลูกยางกระดาษ ให้เด็กได้ลองเล่นด้วยตัวเองหรือทำเอง เด็กจะได้ความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องการออกแบบลูกยาง เช่น ใส่คลิปสองตัว ก้านสั้นกว่า
ลูกยางกระดาษ
1 ใช้กระดาษคริปหนีบกระดาษตัดกระดาษเป็นสองแฉก
2 พับฐานข้างล่างใช้คริปหนีบกระดาษหนีบตรงฐาน
3 แล้วทดลองโยนถ้าเราทำปีกตรงลูกยางกระดาษจะหมุนได้ดีแต่ถ้าทำปีกโค้งปีกของลูกยางจะไม่หมุน
กลุ่มนี้เป็นรูปแบบการสอนโดยการจัดประสบการณ์ โดยนำกระดาษมาพับเป็นนกแล้วใช้คลิปยึดไว้ตรงกลาง วิธีการคือ ถือนกไว้แล้วพัด สังเกตเห็นว่านกจะขยับ คืออากาศมันเคลื่อนที่ จากกนั้นลองเอาสมุดมากั้นนกไว้แล้วพัด สังเกตเห็นว่านกขยับ เป็นเพราะอากาศเคลื่อนที่มาปะทะสมุด ซึ่งมันผ่านไปไม่ได้ หรือในตัวนกที่เห็นว่ามันพองเพราะเราเป่าอากาศเข้าไป หรือเป่าลูกโป่ง เห็นได้ว่าอากาศต้องการที่อยู่
ขั้นตอนการพับนก
1. นำกระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมาพับในแนวทแยง รีดให้เป็นรอยแล้วคลี่ออก
2. พับครึ่งกระดาษในแนวขนานทั้งสองทาง รีดให้เรียบแล้วคลี่ออก
3. จับกระดาษตามรอยที่พับไว้ จีบเข้ามาตามรูป
4. เสร็จแล้วรีดให้เรียบ
5. พับขอบสองข้างของกระดาษ และพับส่วนปลายบนของกระดาษตามรูป รีดให้เรียบแล้วคลายออก
6. ดึงกระดาษขึ้นตามรอยพับ
7. จะได้เป็นดังรูป รีดให้เรียบแล้วทำอย่างเดียวกันทั้งสองด้าน
8. พับขอบด้านล่างเข้าหาตรงกลาง ทำทั้งสองด้าน
9. พับเฉียงๆ ขึ้นตามรูป รีดให้เรียบแล้วคลายออก
10. เปิดกระดาษเล็กน้อย งอกระดาษขึ้นตามรอยที่พับไว้
11. ทำอย่างนี้ทั้งสองข้าง
12. เสร็จแล้วจะได้ดังรูป
13. ที่ปลายข้างหนึ่ง พับปลายลงมาเป็นจงอยปากนกกระเรียน เสร็จแล้วให้ดึงปีกทั้งสองข้างออกเบาๆ
14. ก็จะได้เป็นนกกระเรียนที่เสร็จสมบูรณ์แล้วล่ะค่ะ
กลุ่มนี้มีรูปแบบการสอนโดยเรียนรู้ผ่านการเล่น คือการทำกังหันลม ให้เด็กได้ลองเป่าดูก็จะได้รู้ว่า อากาศมันเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุทำให้วัตถุขยับ
วิธีทำกังหันลม
- ขีดเส้นตรงจากมุมด้านบนเฉียงลงไปยังมุมด้านล่าง เมื่อทำครบแล้วก็จะได้กากบาทตัดกันที่กึ่งกลางกระดาษพอดิบพอดี
- ตัดกระดาษตามเส้นที่ขีดไว้ แต่ไม่ต้องตัดจนสุด เว้นจากกึ่งกลางกระดาษสัก 3 นิ้ว ตัดทั้ง 4 มุมเลยตรงนี้จะเป็นใบกังหัน
- เจาะรูตรงจุดกึ่งกลางกระดาษแข็ง
- เจาะรูตรงมุมหนึ่งของใบกังหันค่ะ หากจะเจาะที่มุมด้านขวา ก็ต้องเจาะที่มุมด้านขวาของทั้ง 4 ใบ (ตามรูป)
- ลองพับกังหัน โดยพับใบกังหันที่เจาะรูไว้เข้าหาจุดกึ่งกลางกระดาษ เมื่อเราพับทั้ง 4 มุมเข้าหาจุดกึ่งกลางกระดาษเราก็จะได้กังหันลมขอบคุณข้อมูลจาก : http://tumngai.com/ ,http://www.blisby.com/blog/diy-giant-flower-pinwheel/
Homework
ลม หมายถึง อากาศที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางในแนวราบ เกิดจากการแทนที่ของอากาศ เนื่องจากอากาศในบริเวณที่ร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น ในขณะที่อากาศบริเวณใกล้เคียงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของอากาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันของความ กดอากาศ อากาศบริเวณที่มีความกออากาศสูงจะเคลื่อนที่เข้ามายังบริเวณที่มีความกด อากาศต่ำ มวลอากาศที่เคลื่อนที่เราเรียกว่า "ลม" จึงกล่าวได้ว่า ลม เกิดจากการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกด อากาศต่ำนั่นเอง โดยการเคลื่อนที่ของลมจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความกดอากาศ สูง และความกดอากาศต่ำ ถ้ามีความแตกต่างกันน้อยลมที่เกิดขึ้นจะเป็นลมเอื่อย และถ้ามีความแตกต่างกันมากจะกลายเป็นพายุได้ ดังนั้นการเกิดลม เป็นปรากฏการณ์ที่อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น และอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ นอกจากนั้นการหมุนเวียนของลมบนโลกเป็นกลไกในการช่วยกระจายพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์ ให้เฉลี่ยทั่วถึงโลก และช่วยพัดพาเอาความชุ่มชื้นจากพื้นน้ำมาสู่พื้นดินด้วย ข้อสังเกต เราพบว่าการเคลื่อนที่ของอากาศมี 2 ชนิด ด้วยกันคือ ถ้าเคลื่อนที่ขนานไปกับผิวโลกเราเรียกว่า "ลม" (Wind) แต่ถ้าเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเราเรียกว่า "กระแสอากาศ" (Air current) สำหรับระบบการพัดของลมบนพื้นโลกส่วนหนึ่งเกิดเนื่องมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดแรงที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของกระแสอากาศ เราเรียกแรงดังกล่าวว่า
"แรงคอริออลิส" เป็นแรงที่มีการเคลื่อนที่ไปในแนวนอน มีลักษณะที่สำคัญคือแรงนี้จะหมุนทำมุมตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศ ในซีกโลกเหนือ แรงเฉจะทำให้อากาศเคลื่อนที่ในแนวนอน เฉไปจากเดิมไปทางขวา และทางซีกโลกใต้ เฉไปจากเดิมทางซ้าย แรงนี้จะมีค่าสูงสุดที่ขั้วโลกทั้งสอง และมีค่าเป็นศูนย์ที่ศูนย์สูตร และค่าของแรงนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อละติจูดสูงขึ้น จนกระทั่งมีค่าสูงสุดเท่ากับหนึ่งหรือ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ขั้วโลกทั้งสอง
ทักษะ (Skill)
- ทักษะจำ
- ทักษะการเรียนรู้
- ทักษะการคิด
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการนำเสนอ
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี
เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- ทบทวนความรู้
- บรรยาย
- นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง
- ให้ทำกิจกรรมจากประเด็นปัญหา
- ให้นักศึกษานำเสนอผลงาน
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถออกแบบกิจกรรมการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ด้วยตนเองได้
- สามารถประดิษฐ์สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ได้
- มีความรู้ความเข้าใจวิทยาศาสตร์เรื่องลม
- มีวิธีการสอนเด็กเรื่องลมอย่างง่าย เหมาะกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย นำเสนอผลงานได้ดี
ประเมินเพื่อน - เพื่อนตั้งใจทำงาน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ทบทวนความรู้ให้นักศึกษา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดด้วยตนเอง และคอยให้คำแนะนำเป็นอย่างดี
Vocabulary คำศัพท์
Compare เปรียบเทียบ
Object วัตถุ
Hypothesis สมมติฐาน
Process กระบวนการ
wind turbine กังหันลม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น