Record 5
Tuesday 6 September 2016
วันนี้อาจารย์ต้องไปเข้าร่วมการเปิดงานวิชาการของสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จึงได้มอบหมายงานให้นักศึกษามา 2 ชิ้น คือ คัด ก ไก่ - ฮ นกฮูก และดูวิดีโอวิทยาศาสตร์เเสนสนุกสำหรับเด็ก เรื่องอากาศมหัศจรรย์
คัดเอง โดยไม่ได้คัดตามรอยปะ |
อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน
เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้
อากาศและบรรยากาศมีความสำคัญ ดังนี้
- มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
- มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ
- ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมีความอบอุ่นขึ้น
- ทำให้เกิดลมและฝน
- มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก
- ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคต้อกระจก
- ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน
- ทำให้ท้องฟ้ามีสีสวยงาม โดยอนุภาคของสิ่งอื่นที่ปนอยู่กับก๊าซในบรรยากาศจะทำให้แสงหักเห เราจึงมองเห็นท้องฟ้ามีแสงสีที่งดงามแทนที่จะเห็นเป็นสีดำมืด นอกจากนี้ก๊าซโอโซนซึ่งมีสีน้ำเงินยังช่วยให้มองเห็นท้องฟ้าเป็นสีครามหรือสีฟ้าสดใสอีกด้วย
*แม้อากาศจะไม่มีรูปร่างแต่อากาศจะเเทรกอยู่ได้ในทุกพื้นที่
น้าเทรี่ กับ หมีจ๋า |
วิดีโอเรื่องอากาศมหัศจรรย์
การแทนที่ของอากาศ จากการทดลอง การเทน้ำลงในขวด โดยที่ยังไม่ได้นำดินน้ำมันไปปิดไว้จะสามารถทำให้น้ำไหลลงไปในขวดได้เร็ว เพราะอากาศมีทางออกจากขวดโดยออกไปทางปากขวด แต่เมื่อนำดินน้ำมันเข้าไปปิดไว้ที่ปากขวด เเละเทน้ำลงไปทำให้น้ำไหลลงไปในขวดช้าเพราะอากาศไม่มีทางออก น้ำที่เข้าไปแทนที่อากาศจึงถูกพยุงไว้ไม่ให้ไหลเข้ามา
อากาศมีตัวตน มีน้ำหนัก จากการทดลอง การเอาลูกโป่งสองใบมาชั่งน้ำหนักกัน จากรูปจะเห็นว่าลูกโป่งใบที่ไม่ได้ปล่อยลมออกจะหนักกว่าใบที่ปล่อยลมออกเพราะลูกโป่งใบใหญ่มีอากาศมากกว่า
ใบเล็กนั่นเอง
จากการทดลอง นำแก้วสองใบมาผูกไว้กับคาน จะเห็นว่าแก้วสองใบอยู่ในระดับเดียวกัน แต่เมื่อนำเทียนไขจุดไฟมาจ่อไว้ที่แก้วใบขวาจะเห็นว่าแก้วมันลอยขึ้น ทำให้รู้ว่าความร้อนทำอากาศเบาขึ้น
หลักการนี้ เป็นที่มาของบอลลูนนั่นเอง บอลลูนจะมีไฟจุดไว้อยู่ด้านบนเพราะความร้อนจะทำให้มันลอยสูงขึ้น หรือรวมไปถึงการเป่าฟองสบู่ อากาศที่เป่าออกมามันมีความร้อนจึงทำให้ฟองสบู่ลอยสูงขึ้น จนกระทั่งอากาศในฟองสบู่เริ่มเย็นลงทำให้มันลอยตกลงมา
การทดลอง นำขวดโหลสองใบเเช่ในน้ำร้อนกับน้ำเย็น
นำขวดโหลที่เเช่น้ำเย็นมาวางบนขวดโหลที่แช่น้ำร้อน ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
นำขวดที่เเช่น้ำร้อนจุดควันธูปใส่เข้าไป ต่อมาก็สลับกัน
ขวดที่เเช่นำร้อนอยู่ด้านล่าง ขวดที่เเช่น้ำเย็นอยู่ด้านบน จะเห็นว่า ควันที่อยู่ในขวดโหลที่เเช่น้ำร้อนจะลอยขึ้นไปบนขวดโหลที่เเช่น้ำเย็น และความเย็นที่อยู่ในขวดก็ลอยต่ำลงมา เป็นเพราะอากาศพยายามปรับสมดุลตลอดเวลา
จุดธูปใส่เข้าไปในกล่องใส
พบว่า อากาศเคลื่อนที่ไปมา จะเห็นได้จากควันที่ลอยสูงขึ้นและตกลงมา เป็นเพราะว่าอากาศเคลื่อนที่และอากาศเคลื่อนที่จึงทำให้เกิดลมได้
อากาศบนทรายมีความร้อน ทำให้มันลอยสูงขึ้น และ อากาศจากทะเลที่เป็นความเย็นก็พัดเข้ามา
การทดลอง ลมสามารถเปลี่ยนเส้นทางได้เมื่อมีวัตถุมาขวางกั้น เช่นลมที่พัดมาจากด้านนอกแล้วพุ่งเข้าชนกับตัวบ้าน กระเเสลมก็จะกระจายออกและพุ่งผ่านข้างๆบ้านของเราแทน แต่ถ้าบ้านของเรามีหน้าต่าง ประตู กระเเสลมก็พุ่งผ่านหน้าต่างเข้ามาในบ้านเราได้และจะระบายออกตามช่องต่างๆ
การทดลอง เเรงดันอากาศ โดยการเติมน้ำลงไปบนแก้วให้เต็มแล้ววางกระดาษไว้บนแก้ว จากนั้นคว่ำแก้วลง พบว่าน้ำไม่หกออกมา เพราะการเติมน้ำลงไปเป็นอากาศไล่อากาศออกมาจากแก้วจนหมด และเมื่อคว่ำแก้วลงจึงมีอากาศดันไว้ทำให้น้ำไม่หกออกมา
การทดลอง ยกหนังสือด้วยอากาศในลูกโป่ง ขั้นตอนสอดลูกโป่งใบใหญ่ๆไว้ใต้หนังสือจากนั้นก็เป่าลมเข้าไปในลูกโป่ง ที่ลูกโป่งยกกองหนังสือได้เป็นเพราะใช้หลักของแรงดันอากาศ เมื่อเป่าลมเข้าไปในลูกโป่ง อากาศจะทำให้ลูกโป่งขยายตัวออกเเละเเรงดันที่เพิ่มเข้ามาก็จะดันกองหนังสือให้ลอยขึ้นมาได้
การทดลอง น้ำแก้วเปล่า 2 ใบมาวางไว้คู่กัน นำน้ำมาอีกสองแก้ว ครั้งแรก เจาะรูแก้วน้ำทั้งสองใบแก้วละ 1 รู จากนั้นลองเทน้ำใส่ในแก้วเปล่า พบว่าน้ำไม่ไหลออกมา ครั้งที่สองลองเจาะแก้วน้ำใบที่ 1 เจาะรูข้างๆกัน ลองเท พบว่าน้ำไม่ไหลออกมา เพราะอากาศคอยดันน้ำไว้ที่ปากของรู เเล้วเจาะแก้วน้ำใบที่ 2 เจาะรูในลักษณะตรงข้ามกัน ลองเท พบว่าน้ำไหลออกมา
น้ำที่ไหลออกมาได้ เพราะว่า รูฝั่งตรงข้ามทำให้อากาศสามารถเข้าไปได้ อากาศจึงเข้าไปช่วยดันน้ำใหไหลออกมาอีกรู เเละเมื่อเอามือปิดรูไว้ น้ำก็ไม่สามารถไหลออกมาได้เพราะไม่มีอากาศไปช่วยดัน
ดูดน้ำขึ้นเข้าไปในหลอด แล้วเอานิ้วปิดปากหลอดไว้ทำให้น้ำไม่ไหลออกมา
เอามือออกจากปากหลอด ทำให้น้ำไหลลงมา หลักการเดียวกันกับเเรงดันอากาศ เช่นการดื่มนม เมื่อเราดูดนม เราจะดูดอากาศจากหลอดไปจนหมดจากนั้นนมก็จะเข้ามาแทน เมื่อเราปล่อยหลอดออกจากปากนมก็จะไหลลงสู่แก้วตามเดิม
การทดลองดันไข่ต้มลงขวด อันดับแรกนำไข่ต้มไปวางไว้ที่ปากขวดไข่ต้มไม่ไหลลงไป ต่อมานำไจุดเข้าไปในขวดแล้วลองนำไข่ต้มไปวางอีกครั้ง คราวนี้ไข่ต้มไหลลงไปในขวดได้อย่างง่ายดาย เพราะอากาศในขวดร้อนขึ้นจึงมีแรงดันต่ำ อากาศเย็นที่อยู่นอกขวดมีแรงดันสูงกว่าจึงพยายามดันเข้าไปแทนที่ทำให้ไข่ต้มสามารถไหลลงไปในขวดได้
^
^
^
แรงต้านอากาศ
การทดลองเเรงต้านอากาศ จะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ จากในรูปกระดาษที่เป็นก้อนกลมๆมีพื้นที่น้อยทำให้มีเเรงต้านน้อยจึงตกลงสู่พื้นได้เร็วกว่า ส่วนกระดาษที่เป็นแผ่นมีพื้นที่มากทำให้มีแรงต้านมาก จึงตกลงสู่พื้นได้ช้ากว่า เช่น การโดดร่ม
หลังจากดูวิดีโอเสร็จแล้ว อากาศให้นักศึกษาเข้าไปร่วมงานแสดงนิทรรศการของสาขาการศึกษาปฐมวัย แต่มีการพูดคุยและให้ศึกษานำเสนอของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ให้เตรียมมาก่อน
ของเล่นวิทยาศาสตร์
ชื่อของเล่น : ว่าวลอยลม
อุปกรณ๋
1. กระดาษ
2. ไม้
3. สี
4. เทปกาว
5. เชือก
ขั้นตอนการทำ
1. นำกระดาษ A4 มาพับครึ่ง
2. เเบ่งกระดาษเป็น 4 ส่วน พับกระดาษเข้ามาถึงทั้ง 2 ด้าน
3. วาดรูปตาและปาก ตกแต่งให้สวยงาม
4. นำไม้เสียบลูกชิ้นที่ตัดปลายเรียบร้อยแล้วมายึดโครง
5. พลิกด้านหลัง เจาะรูไว้ร้อยเชือก
6. ติดหางว่าวให้เรียบร้อย
7. เสร็จเรียบร้อย ว่าวลอยลม
วิธีการเล่น
การเล่นว่าวลอยลม ควรเล่นที่ลานกว้างๆนอกบ้าน และมีลมพัดผ่าน เล่นโดยการจับเชือกที่ผูกไว้แล้วปล่อยให้ตัวว่าวลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า อาจจะวิ่งเล่นหรือผูกไว้กับที่ก็ได้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สอนเด็กในเรื่องอากาศ ว่าวสามารถลอยอยู่ในอากาศได้เพราะกระเเสลมที่พัดเคลื่อนที่ และว่าวจะลอยขึ้นได้โดยจะต้องมีเเรงถ่วงน้อยกว่าเเรงยก และเเรงขับ (ลม) ต้องมีความเร่งมากพอที่จะชนะเเรงต้าน ซึ่งมีทิศทางเดียวกับกระเเสลม
วัตถุประสงค์ของของเล่นชิ้นนี้เพื่อเด็กจะได้สังเกต ทดลอง เรียนรู้กระบวนการจากการเล่นว่าว
ได้รู้เรื่องกระเเสลม และเด็กได้เรียนรู้จากการเล่นด้วยตนเองจากธรรมชาติรอบตัว
การบูรณาการ Stem Steam
S อากาศเคลื่อนที่ เเรงต้านอากาศ
T ขั้นตอนวิธีการทำว่าว
E ออกแบบโครงสร้างของว่าวตลอดจนวัสดุที่นำมาทำว่าว
A การตกตเเต่งรูปว่าว สีของว่าว
M รูปทรงของว่าว ขนาดของว่าว
นิทรรศการการเเสดงผลงานที่ได้รับจากการฝึกสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 5
ทักษะ (Skill)
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการเรียนรู้
- ทักษะการเขียน
- ทักษะการดู
- ทักษะการศึกษาหาความรู้
- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี
เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- ให้นักศึกษาทำงาน ฝึกทักษะ
- ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
- ให้นักศึกษานำเสนอผลงาน
- ให้นักศึกษาได้สังเกตุ
- ให้นักศึกษาเรียนรู้อย่างอิสระ
- ให้นักศึกษาเรียนรู้อย่างอิสระ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถออกแบบกิจกรรมการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ด้วยตนเองได้
- สามารถประดิษฐ์ของเล่นวิทยศาสตร์ด้วยตนเองได้
- มีความรู้ความเข้าใจวิทยาศาสตร์เรื่องอากาศ
- มีความรู้จากการศึกษาดูงานไปปรับใช้ในอนาคตได้หากเราเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 5
ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจดูวิดีโอหาความรู้
ประเมินเพื่อน - เพื่อนตั้งใจดูวิดีโอ ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ - แม้อาจารย์จะติดงานแต่อาจารย์ก็ไม่ทิ้งนักศึกษา มีการมอบหมายงานให้นักศึกษาไปทำและให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากการดูวิดีโอ หลังจากนั้นยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้หาความรู้จากการเเสดงผลงานของนักศึกษารุ่นพี่อีกด้วย
Vocabulary คำศัพท์
Wind ลม
Air อากาศ
Test การทดลอง
Resistance เเรงต้าน
Project Approach การสอนเเบบโครงการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น