วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

Record 6
Tuesday 13 September 2016

                เริ่มต้นวันนี้ด้วยการคัดลายมือตัวหนังสือพยัญชนะ ก - ฮ หัวกลมตัวเหลี่ยม โดยครั้งนี้อาจารย์มีเทคนิคการเขียนตัวอักษรในแบบที่ถูกต้องเป็นตัวอย่างให้ดู

เนื้อหาการเรียน (Knowledge)

เนื้อหาวันนี้เกี่ยวกับของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้เปิดตัวอย่างของเล่นของรุ่นพี่นักศึกษาปีก่อนๆให้ดูและอธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาตร์ โดยของเล่นวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ลุ่ม คือ
1. ของเล่นที่เอามาใช้ในเชิงทดลอง
2. ของเล่นที่นำมาปฏิบัติ เด็กทำเองเล่นเอง
3. ของเล่นที่นำเข้ามุมประสบการณ์ เป็นของเล่นที่เล่นได้หลายครั้ง


           ตัวอย่างของเล่น หมุนสี ของเล่นวิทยาศาสตร์นี้เกี่ยวกับเรื่องเเสง และการหมุนทำให้เกิดความยืดหยุ่ย พลังงานศักย์กลายเป็นพลังงานจลน์ ของเล่นเมื่อประดิษฐ์ขึ้นมาเเล้วต้องคำนึงถึง ขั้นตอนการทำ วิธีการเล่น การต่อยอดการเล่น การบูรณาการเข้ากับศาสตร์อื่นๆได้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะของเล่นทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย คิดริเริ่ม คิดคล่องแคล่ว คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดลออ
และอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาไปปรับเนื้อหาของเล่นที่นักศึกษาใส่ข้อมูลในบล็อก ให้มีรูปแบบดังนี้
1. ชื่อของเล่น
2. อุปกรณ์
3. วิธีการทำ
4. วิธีการเล่น
5. ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์
6. บูรณาการ Stem steam

*เพิ่มเติม
เงาคืออะไร? เงา (ภาษาอังกฤษคือ Shadow) คือ อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงฉายไปกระทบวัตถุนั้น ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้หรือเดินทางไปถึงเพียงบางส่วน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
  1. เงามืด เป็นอาณาเขตหลังวัตถุ แสงกระทบวัตถุแล้ว จะไปไม่ถึงบริเวณนั้นเลย
  2. เงามัว เป็นอาณาเขตหลังวัตถุ แสงกระทบวัตถุแล้ว จะไปถึงเพียงบางส่วนที่บริเวณนั้น

มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่  ๑   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว๑.๑  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
 ๑. เปรียบเทียบความ
แตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิต
กับสิ่งไม่มีชีวิต
      สิ่งมีชีวิตมีลักษณะแตกต่างจากสิ่งไม่มีชีวิต  โดยสิ่งมีชีวิตจะมีการเคลื่อนที่ กินอาหาร  ขับถ่าย หายใจ  เจริญเติบโต  สืบพันธุ์และตอบสนองต่อ   สิ่งเร้าแต่สิ่งไม่มีชีวิตจะไม่มีลักษณะดังกล่าว
    ตั้งคำถาม วางแผน สังเกตและสำรวจ รวบรวม  บันทึกผล วิเคราะห์ สรุปและ เขียนแผนภาพเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต และนำเสนอด้วยวาจา
 ๒สังเกตและอธิบาย
ลักษณะและหน้าที่ของ
โครงสร้างภายนอกของพืช
และสัตว์ 
1.     โครงสร้างภายนอกของพืช ได้แก่  ราก  ลำต้น ใบ และผล แต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน
2.     โครงสร้างภายนอกของสัตว์ ได้แก่ ตา  หู จมูก ปาก เท้า และขา แต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน
          ตั้งคำถาม วางแผนสังเกตและ สำรวจ รวบรวมข้อมูล บันทึกผลการสังเกต  สรุป และอธิบายลักษณะและหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืชและสัตว์ และนำเสนอด้วยวาจา
 ๓.   สังเกตและอธิบาย
ลักษณะ หน้าที่และ
ความสำคัญของอวัยวะ
ภายนอกของมนุษย์
ตลอดจนการดูแลรักษา
สุขภาพ
อวัยวะภายนอกของมนุษย์มีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน  อวัยวะเหล่านี้มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตจึงต้องดูแลรักษาและป้องกันไม่ให้อวัยวะเหล่านั้นได้รับอันตราย
  ตั้งคำถาม วางแผนการสังเกต สังเกต รวบรวม บันทึกการสังเกต อภิปรายสรุปผล การสังเกต และอธิบายลักษณะ หน้าที่ความสำคัญของอวัยวะภายนอกของมนุษย์
และกำหนดแนวทางในการป้องกันดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง และนำเสนอด้วยวาจา 
สาระที่  ๑   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว๑.๒  เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
1.   ระบุลักษณะของ
สิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นและ
นำมาจัดจำแนกโดยใช้
ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์
        สิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นจะมีทั้งลักษณะ
ที่เหมือนกันและแตกต่างกัน  ซึ่งสามารถนำมาจำแนกโดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์
       สังเกต ตั้งคำถาม วางแผนการสำรวจ  สำรวจ รวบรวมข้อมูล บันทึก วิเคราะห์ สรุปผลการสำรวจเพื่อระบุลักษณะของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นและนำมาจัดจำแนก
โดยใช้ลักษณะภายนอก  เป็นเกณฑ์ และนำเสนอด้วยวาจา 
สาระที่ ๓   สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว๓.๑  เข้าใจสมบัติของสาร  ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
1.   สังเกตและระบุลักษณะที่ปรากฏหรือสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำของเล่นของใช้ในชีวิตประจำวัน
วัสดุที่ใช้ทำของเล่นในชีวิตประจำวันอาจมีรูปร่าง สี ขนาด พื้นผิว ความแข็งเหมือนกันหรือแตกต่างกันพื้นผิว
ตั้งคำถาม วางแผนและสังเกต รวบรวมข้อมูล บันทึก วิเคราะห์ สรุปผลการสังเกตและระบุลักษณะที่ปรากฏหรือสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำของเล่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน และนำเสนอด้วยวาจา
6.   จำแนกวัสดุที่ใช้ทำ
ของgล่น ของใช้ใน
ชีวิตประจำวัน รวมทั้ง
ระบุเกณฑ์ที่ใช้จำแนก
ลักษณะหรือสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุ สามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกวัสดุที่ใช้ทำของเล่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน
ตั้งคำถาม วางแผนและสังเกต รวบรวมข้อมูล บันทึก วิเคราะห์ สรุปผลการสังเกต  จำแนกวัสดุที่ใช้ทำของเล่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งระบุเกณฑ์ที่ใช้จำแนก และนำเสนอด้วยวาจา
สาระที่ ๔   แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว๔.๑  เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม  
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
1.   ทดลองและอธิบาย
การดึงหรือการผลักวัตถุ  
การออกแรงกระทำต่อวัตถุอาจทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือไม่เคลื่อนที่และ เปลี่ยนแปลงรูปร่างหรืออาจไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง
สังเกต  ตั้งคำถาม ตั้งสมมติฐาน  ทดลอง บันทึกผลการทดลอง อภิปราย  สรุปผลการทดลองและนำเสนออธิบายผลของการออกแรงดึงหรือผลักวัตถุ
สาระที่ ๖    กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว๖.๑  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
1.  สำรวจ ทดลอง
และอธิบายองค์ประกอบ   
และสมบัติทางกายภาพ
ของดินในท้องถิ่น 
1.    ดินประกอบด้วย เศษหิน ซากพืช    ซากสัตว์
โดยมีน้ำและอากาศแทรกอยู่ในช่องว่างของเม็ดดิน
2.    ดินในแต่ละท้องถิ่นมีสมบัติทางกายภาพแตกต่างกันในด้านของบสี เนื้อดิน  การอุ้มน้ำ การจับตัวของดิน
          สังเกต ตั้งคำถาม วางแผนการสำรวจและทดลอง   สำรวจ ทดลอง  รวบรวมข้อมูล บันทึก  สรุปผลการสำรวจและทดลอง เขียน mind map อธิบายองค์ประกอบและสมบัติทางกายภาพของดินในท้องถิ่น และนำเสนอผลด้วยวาจา

สาระที่ ๗   ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว ๗.๑ เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
1.   ระบุว่าในท้องฟ้า
มีดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์
และดวงดาว 
ในท้องฟ้ามีดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์ และดวงดาว โดยจะมองเห็นท้องฟ้ามีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมครอบแผ่นดินไว้
สังเกต   ตั้งคำถาม วางแผนสังเกต สังเกต  รวบรวมข้อมูล  บันทึกข้อมูล สรุปผลการสังเกต  และระบุได้ว่าในท้องฟ้า มีดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์และดวงดาว  นำเสนอผลโดยการวาดภาพระบายสีลักษณะของท้องฟ้าและจัดแสดงผลงาน
สาระที่ ๘    ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว๘.๑ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้
.   ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้หรือตาม ความสนใจ
.   วางแผนการสังเกต สำรวจตรวจสอบ  ศึกษาค้นคว้า โดยใช้ความคิดของตนเองและของครู
.    ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสำรวจตรวจสอบ และบันทึกผลด้วยวิธีง่ายๆ
.    จัดกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการสำรวจตรวจสอบและนำเสนอผล
.    แสดงความคิดเห็นในการสำรวจ  ตรวจสอบ
.    บันทึกและอธิบายผลการสังเกต สำรวจตรวจสอบ โดยเขียนภาพหรือข้อความสั้นๆ
.    นำเสนอผลงานด้วยวาจาให้ผู้อื่นเข้าใจ

จะนำไปแทรกในสาระที่
 ๑  ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด


            กิจกรรมต่อมาอาจารย์ได้นำตัวอย่างของเล่นวิทยาศาสตร์มาให้ดูเป็นตัวอย่าง ของเล่นแต่ละชิ้นมีความน่าสนใจมากเลยค่ะ และเป็นของเล่นง่ายๆที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้เองจากการค้นพบ ของเล่นในส่วนนี้เป็นประสบการณ์เรื่องเเสง


กระจก ทำให้เกิดภาพสะท้อน เป็นดอกไม้ 14 กลีบ มี 3 คู่ เกิดจากแสงไปกระทบกระจก ทำให้เกิดการสะท้อนกลับไปกลับมา (กระจกเพียง 2 บาน)


ถ้ากระจกยิ่งเเคบลงจะทำให้เกิดภาพมากขึ้น เช่น ในภาพที่ 1 วางกระจกไว้กว้างจะมองเห็นคน 3 คน ในภาพที่ 2 วางกระจกให้เเคบลง จะมองเห็นคนเพิ่มมากขึ้น 5 คน

เป็นภาพที่มีลักษณะคล้ายกัน เป็นภาพสองภาพซ้อนกันหากลองเปิดเร็วๆจะเหมือนภาพขยับได้
 คล้ายกับฟลิบชาร์ดนั่นเอง


ตัวอย่าง

 
เป็นภาพสองภาพ ภาพด้านหน้าและด้านหลัง หากลองหมุมไม้เร็วๆจะเห็นว่าเป็นภาพเดียวกัน เช่นนกอยู่ในกรง คนยืนอยู่บนหลังม้า 

 

กระดาษแก้วสีต่างๆ เป็นการผสมสี หากลองนำสีมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีใหม่

กล่อง 2 กล่อง ติดกระจกไว้ด้านล่างและด้านบน จะทำให้มองเห็นคล้ายกล้องนักประดาน้ำ

แผ่นสี หากวางประกบกันทำให้เกิดเป็นสีใหม่ เป็นการผสมสี


ทักษะ (Skill)
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการเรียนรู้
- ทักษะการเขียน
- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี

เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- บรรยาย
- ยกตัวอย่าง สาธิต
- ให้นักศึกษาได้สังเกตุ
- ให้นักศึกษาเรียนรู้อย่างอิสระ

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถออกแบบกิจกรรมการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ด้วยตนเองได้
- สามารถประดิษฐ์ของเล่นวิทยศาสตร์ด้วยตนเองได้โดยมีการบูรณาการ Stem Steam
- มีความรู้เรื่องมาตรฐานวิทยาศาสตร์ และสามารถนำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม
- มีข้อมูลเกี่ยวกับของเล่นวิทยาศาสตร์หลากหลายชนิด

ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน - เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ให้อิสระแก่นักศึกษา ยิ้มแย้มเเจ่มใส มีการเล่นมุขด้วย ทำให้บรรยากาศวันนี้สนุกสนาน ไม่เครียด เรียนอย่างมีความสุข และอาจารย์ยังมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย มีการยกตัวอย่างนำของมาให้ดูทำให้มีความรู้เข้าใจมากขึ้น ^^

Vocabulary คำศัพท์
light เเสง
Standard มาตรฐาน
Reflect สะท้อน
Impact กระทบ
Mix ผสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น