Record 3
Tuesday 23 August 2016
เนื่องจากวันนี้อาจารย์มีประชุม จึงได้มอบหมายงานให้นักศึกษา สรุปความรู้เรื่องรูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัยในรูปแบบใดก็ได้ส่งท้ายคาบเรียน
Knowledge
รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
คุณลักษณะตามวัย
เด็กอายุ 3 ปี
- กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
- รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
- เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
- เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
- ใช้กรรไกรมือเดียวได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
- แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
- ชอบจะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและรับคำชม
- กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
- รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
- ชอบเล่นเเบบคู่ขนาน
- เล่นสมมติได้
- รู้จักการรอคอย
พัฒนาการด้านสติปัญญา
- สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้
- บอกชื่อของตนเองได้
- ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
- สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องประโยคสั้นๆได้
- สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
- ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่ายๆและแสดงเลียนเเบบท่าทางได้
- รู้จักใช้คำถาม อะไร
- สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆได้
- อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
เด็กอายุ 4 ปี
- กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
- รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
- เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
- เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
- ตัดกระดาษตามแนวเส้นตรงได้
- กระฉับกระเฉงไม่อยู่เฉย
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
- แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมบางสถานการณ์
- เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
- ชอบท้าทายผู้ใหญ่
- ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ
พัฒนาการด้านสังคม
- เล่นร่วมกับคนอื่นได้
- รอคอยตามลำดับก่อนหลัง
- แบ่งของให้คนอื่น
- เก็บของเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านสติปัญญา
- จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
- บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
- พยายามแก้ไขด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
- สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องเป็นประโยคต่อเนื่องได้
- สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
- รู้จักใช้คำถามว่าทำไม
เด็กอายุ 5 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
- กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
- รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
- เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
- เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
- ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
- ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี
- ยืดตัว คล่องเเคล่ว
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
- แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เหมาะสม
- ชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
- ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
- ปฎิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
- เล่นและทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
- พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
- รู้จักขอบคุณเมื่อรับของจากผู้ใหญ่
- รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
พัฒนาการด้านสติปัญญา
- บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้สิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
- บอกชื่อและนามสกุลและอายุของตนเองได้
- พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
- โต้ตอบเล่าเป็นเรื่องเป็นราวได้
- สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
- รู้จักใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร
- เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาด้านบุคลิกภาพมากที่สุด ธรรมชาติของเด็กในวัยนี้เป็นวัยอยากรู้อยากเห็น มีความสงสัยในสิ่งต่างๆ ชอบถามจนกว่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน เด็กวัยนี้เริ่มแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมาให้เห็น เช่น การเลียนแบบพ่อแม่ ครูและเพื่อนในวัยเดียวกัน เด็กวัยนี้ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่สามารถเข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น จะคิดว่าสิ่งที่ตนรับรู้คนอื่นก็รับรู้ด้วย มักแสดงอารมณ์ออกมาอย่างเปิดเผยและเปลี่ยนแปลงอารมณ์ได้ง่ายๆดังนั้นครูหรือผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กจะต้องเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของเด็กเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีให้กับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ของพาฟลอฟ วัตสัน และของเมรีโจน
ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์
ทฤษฎีของ bloom
ทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
ทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
กีเซล เชื่อว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติ
การปฏิบัติ จัดกิจกรรมเคลื่อนไหนและจังหวะให้เด็กไ้เล่นกลางแจ้ง
ฟรอยด์ เชื่อว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบคลิกภาพหากไม่ได้รับการตอบสนองจะถดถอย
การปฏิบัติ ครูเป็นแบบอย่างที่ดี จัดกิจกรรมจากง่ายไปยาก
อีริคสัน เชื่อว่า ถ้าเด็กพอใจ เด็กจะมองโลกในแง่ดี ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่ดี ไม่พอใจมองโลกในแง่ร้าย
การปฏิบัติ จัดกิจกรรมให้เด็กประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อม
เพียเจท์ เชื่อว่า พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพเเวดล้อม และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม
การปฏิบัติ จัดกิจกรรมให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว
ดิวอี้ เชื่อว่า เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
การปฏิบัติ จัดกิจกรรมให้เด็กประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
สกินเนอร์ เชื่อว่า ถ้าเด็กได้รับการชมเชย เด็กจะสนใจทำต่อไป และเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
การปฏิบัติ ให้เเรงเสริม ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบกัน
เปตาลอสซี่ เชื่อว่า ความรักเป็นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ไม่ควรถูกบังคับเรียนด้วยการท่องจำ
การปฏิบัติ จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลา ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
เอลคายน์ เชื่อว่า การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล้กเป็นอันตรายและเด็กควรได้เลือกเล่นกิจกรรมด้วยตัวเอง
การปฏิบัติ จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นกิจกรรมด้วยตัวเอง
หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
กีเซล เชื่อว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติ
การปฏิบัติ จัดกิจกรรมเคลื่อนไหนและจังหวะให้เด็กไ้เล่นกลางแจ้ง
ฟรอยด์ เชื่อว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบคลิกภาพหากไม่ได้รับการตอบสนองจะถดถอย
การปฏิบัติ ครูเป็นแบบอย่างที่ดี จัดกิจกรรมจากง่ายไปยาก
อีริคสัน เชื่อว่า ถ้าเด็กพอใจ เด็กจะมองโลกในแง่ดี ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่ดี ไม่พอใจมองโลกในแง่ร้าย
การปฏิบัติ จัดกิจกรรมให้เด็กประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อม
เพียเจท์ เชื่อว่า พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพเเวดล้อม และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม
การปฏิบัติ จัดกิจกรรมให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว
ดิวอี้ เชื่อว่า เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
การปฏิบัติ จัดกิจกรรมให้เด็กประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
สกินเนอร์ เชื่อว่า ถ้าเด็กได้รับการชมเชย เด็กจะสนใจทำต่อไป และเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
การปฏิบัติ ให้เเรงเสริม ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบกัน
เปตาลอสซี่ เชื่อว่า ความรักเป็นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ไม่ควรถูกบังคับเรียนด้วยการท่องจำ
การปฏิบัติ จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลา ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
เอลคายน์ เชื่อว่า การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล้กเป็นอันตรายและเด็กควรได้เลือกเล่นกิจกรรมด้วยตัวเอง
การปฏิบัติ จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นกิจกรรมด้วยตัวเอง
ทักษะ (Skill)
- ทักษะการอ่าน
- ทักษะการสรุปองค์ความรู้
- ทักษะการเขียนสรุปข้อมูล
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี
เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- ให้ทำกิจกรรม
- นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
นำความรู้เรื่องรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไปใช้ได้ในอนาคต ในเรื่องของการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย พัฒนาการอายุ ช่วงวัยต่างกันเด็กก็จะมีความสามารถต่างกัน ดังนั้นครูจึงต้องมีความรู้อย่างมากเกี่ยวกับตัวเด็กและธรรมชาติของเด็กเพื่อจะได้จัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างถูกวิธี
ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน - เพื่อนตั้งใจทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น