วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Record 4
Tuesday 30 August 2016

              เริ่มคลาสด้วยการคัดลายมือ ก-ฮ อาจารย์อธิบายว่าการคัดลายมือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับครูปฐมวัย เพราะครูจะต้องออกมาเขียนหน้ากระดาน ดังนั้นต้องฝึกไว้เพื่อความเคยชิน จะได้เขียนได้คล่อง และเขียนได้สวยงาม ชัดเจน

คัดตามรอยปะ
Knowledge
        อาจารย์ทบทวนเนื้อหารูปแบบการศึกษาปฐมวัย ที่ให้สรุปจากสัปดาห์ที่แล้ว
คุณลักษณะเด็กปฐมวัย 3-5 ปี : จะเห็นได้ว่าแต่ละช่วงมีความแตกต่างกัน เช่น
ด้านร่างกาย 4 ปี เริ่มควบคุมกล้ามเนื้อได้มากขึ้น ดูได้จาก "ตัดกระดาษเป็นเส้นตรง"
                  5 ปี จำและควบคุม ดูได้จาก "เขียนรูปตามแบบได้"
ด้านอารมณ์ 4 ปี เริ่มมีความรู้สึกนึกคิด
                  5 ปี ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง เห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
ด้านสังคม   ต้องช่วยเหลือตนเองได้
การทำงานของสมองเป็นพื้นฐาน ------> พัฒนาการ ------> คุณลักษณะตามวัย ----->ธรรมชาติของเด็ก
ทฤษฎีการเรียนรู้ เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรรม
       ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน นั่งล้อมวงกัน
และให้ประเด็นปัญหา คือ มีของสองสิ่ง ได้แก่ กระดาษ และคลิป 1 ตัว จะเสริมประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องอากาศอย่างไร



กลุ่มของพวกเราช่วยกันระดมความคิด 
ขั้นตอนแรก หาคำตอบของคำว่าอากาศ อากาศคือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ไม่มีตัวตน สัมผัสไม่ได้ แต่เรารู้สึกถึงมันได้ เช่น อากาศเย็น อากาศร้อน อบอุ่น
ขั้นตอนที่สอง พูดคุยกันเกี่ยวกับอุปกรณ์สองสิ่งที่ได้มา ว่าสามารถทำอะไรได้บ้างที่จะสอนเด็กเรื่องอากาศ 
ขั้นตอนที่สาม ลองผิดลองถูก โดยการนำกระดาษมาพับเป็นจรวดแต่ก็พบว่าไม่สำเร็จ จึงลองเปลี่ยนมาใช้การเปรียบเทียบระหว่างของสองสิ่งดู 
ขั้นตอนที่ 4 ทดลองนำของสองสิ่งโยนลงพื้น สังเกตว่าสิ่งไหนตกสู่พื้นก่อนกัน แล้วหาคำตอบว่าเพราะอะไร
ขั้นตอนที่ 5 เมื่อได้ผลการทดลองก็เกิดคำถามว่าทำไม ของสองสิ่งจึงตกถึงพื้นไม่เท่ากัน จึงลองนำกระดาษมาขยำให้เป็นก้อนกลมๆ แล้วทดลองใหม่ ปรากฎว่าวัตถุตกลงสู่พื้นพร้อมๆกัน






          ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน อาจารย์ให้ความรู้เพิ่มเติมว่ารูปแบบการสอนของกลุ่มเราเป็นการจัดประสบการณ์ ให้เด็กได้สังเกต ทดลองเห็นกระบวนการ ได้ตั้งปัญหาตั้งสมมติฐานด้วยตนเอง ในเรื่องนี้สอนในเรื่อง วัตถุที่ตกสู่พื้นไม่พร้อมกัน เพราะว่า กระดาษที่ตกสู่พื้นช้าเป็นเพราะอากาศมันพยุงกระดาษไว้เนื่องจากกระดาษมีพื้นที่มากกว่าคลิปซึ่งไม่มีพื้นที่สำหรับให้อากาศพยุง จึงตกสู่พื้นได้เร็วกว่า


           กลุ่มนี้เป็นรูปแบบการสอนโดยการค้นพบด้วยตัวเอง เรียนรู้จากการเล่น โดยพับกระดาษเป็นรถแล้วใส่คลิปไว้ที่หัวกระดาษ แล้วเป่าโดยใช้เเรงลม (อากาศเคลื่อนที่) ทำให้รถเคลื่อนที่ไปได้


          กลุ่มนี้เป็นรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อการสอน โดยนำกระดาษมาวาดรูปเป็นรูปอากาศ คือ อากาศร้อน อากาศหนาว อากาศแห้ง อากาศชื้น เป็นการให้เด็กเรียนรู้จากสื่อ


          กลุ่มนี้มีแนวคิดเหมือนกลุ่มเรา คือ นำกระดาษและคลิปมาโยนเปรียบเทียบกัน แต่มีรูปแบบการสอนโดยการจัดประสบการณ์และได้เรียนรู้ผ่านการเล่นคือ ทำลูกยางกระดาษ ให้เด็กได้ลองเล่นด้วยตัวเองหรือทำเอง เด็กจะได้ความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องการออกแบบลูกยาง เช่น ใส่คลิปสองตัว ก้านสั้นกว่า

ลูกยางกระดาษ  
1 ใช้กระดาษคริปหนีบกระดาษตัดกระดาษเป็นสองแฉก
2 พับฐานข้างล่างใช้คริปหนีบกระดาษหนีบตรงฐาน
3 แล้วทดลองโยนถ้าเราทำปีกตรงลูกยางกระดาษจะหมุนได้ดีแต่ถ้าทำปีกโค้งปีกของลูกยางจะไม่หมุน

  


    กลุ่มนี้เป็นรูปแบบการสอนโดยการจัดประสบการณ์ โดยนำกระดาษมาพับเป็นนกแล้วใช้คลิปยึดไว้ตรงกลาง วิธีการคือ ถือนกไว้แล้วพัด สังเกตเห็นว่านกจะขยับ คืออากาศมันเคลื่อนที่ จากกนั้นลองเอาสมุดมากั้นนกไว้แล้วพัด สังเกตเห็นว่านกขยับ เป็นเพราะอากาศเคลื่อนที่มาปะทะสมุด ซึ่งมันผ่านไปไม่ได้ หรือในตัวนกที่เห็นว่ามันพองเพราะเราเป่าอากาศเข้าไป หรือเป่าลูกโป่ง เห็นได้ว่าอากาศต้องการที่อยู่

ขั้นตอนการพับนก
1. นำกระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมาพับในแนวทแยง รีดให้เป็นรอยแล้วคลี่ออก
2. พับครึ่งกระดาษในแนวขนานทั้งสองทาง รีดให้เรียบแล้วคลี่ออก
วิธีการพับนก
3. จับกระดาษตามรอยที่พับไว้ จีบเข้ามาตามรูป
วิธีการพับนก
4. เสร็จแล้วรีดให้เรียบ
วิธีการพับนก
5. พับขอบสองข้างของกระดาษ และพับส่วนปลายบนของกระดาษตามรูป รีดให้เรียบแล้วคลายออก
วิธีการพับนก
6. ดึงกระดาษขึ้นตามรอยพับ
015-7
7. จะได้เป็นดังรูป รีดให้เรียบแล้วทำอย่างเดียวกันทั้งสองด้าน
วิธีการพับนก
8. พับขอบด้านล่างเข้าหาตรงกลาง ทำทั้งสองด้าน
การพับนก
9. พับเฉียงๆ ขึ้นตามรูป รีดให้เรียบแล้วคลายออก
การพับนก
10. เปิดกระดาษเล็กน้อย งอกระดาษขึ้นตามรอยที่พับไว้
การพับนก
11. ทำอย่างนี้ทั้งสองข้าง
การพับนก
12. เสร็จแล้วจะได้ดังรูป
015-13
13. ที่ปลายข้างหนึ่ง พับปลายลงมาเป็นจงอยปากนกกระเรียน เสร็จแล้วให้ดึงปีกทั้งสองข้างออกเบาๆ
015-14
14. ก็จะได้เป็นนกกระเรียนที่เสร็จสมบูรณ์แล้วล่ะค่ะ
015-15


        กลุ่มนี้มีรูปแบบการสอนโดยเรียนรู้ผ่านการเล่น คือการทำกังหันลม ให้เด็กได้ลองเป่าดูก็จะได้รู้ว่า อากาศมันเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุทำให้วัตถุขยับ
วิธีทำกังหันลม
  1. ขีดเส้นตรงจากมุมด้านบนเฉียงลงไปยังมุมด้านล่าง เมื่อทำครบแล้วก็จะได้กากบาทตัดกันที่กึ่งกลางกระดาษพอดิบพอดี
  2. ตัดกระดาษตามเส้นที่ขีดไว้ แต่ไม่ต้องตัดจนสุด เว้นจากกึ่งกลางกระดาษสัก 3 นิ้ว ตัดทั้ง 4 มุมเลยตรงนี้จะเป็นใบกังหัน
  3. เจาะรูตรงจุดกึ่งกลางกระดาษแข็ง
  4. เจาะรูตรงมุมหนึ่งของใบกังหันค่ะ หากจะเจาะที่มุมด้านขวา ก็ต้องเจาะที่มุมด้านขวาของทั้ง 4 ใบ (ตามรูป)
    ตัดกระดาษทั้งสี่มุมให้เฉียงมายังจุดกึ่งกลางกระดาษ Make four incisions from the corners of the paper into the center of the paper
  5. ลองพับกังหัน โดยพับใบกังหันที่เจาะรูไว้เข้าหาจุดกึ่งกลางกระดาษ เมื่อเราพับทั้ง 4 มุมเข้าหาจุดกึ่งกลางกระดาษเราก็จะได้กังหันลม
    พับใบกังหันที่เจาะรูไว้เข้าหาจุดกึ่งกลางกระดาษ Bring each corner with the hole punch to the center hole
    ขอบคุณข้อมูลจาก : http://tumngai.com/ ,http://www.blisby.com/blog/diy-giant-flower-pinwheel/
Homework
          ลม หมายถึง อากาศที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางในแนวราบ เกิดจากการแทนที่ของอากาศ เนื่องจากอากาศในบริเวณที่ร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น ในขณะที่อากาศบริเวณใกล้เคียงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของอากาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันของความ กดอากาศ อากาศบริเวณที่มีความกออากาศสูงจะเคลื่อนที่เข้ามายังบริเวณที่มีความกด อากาศต่ำ มวลอากาศที่เคลื่อนที่เราเรียกว่า "ลม" จึงกล่าวได้ว่า ลม เกิดจากการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกด อากาศต่ำนั่นเอง โดยการเคลื่อนที่ของลมจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความกดอากาศ สูง และความกดอากาศต่ำ ถ้ามีความแตกต่างกันน้อยลมที่เกิดขึ้นจะเป็นลมเอื่อย และถ้ามีความแตกต่างกันมากจะกลายเป็นพายุได้ ดังนั้นการเกิดลม เป็นปรากฏการณ์ที่อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น และอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ นอกจากนั้นการหมุนเวียนของลมบนโลกเป็นกลไกในการช่วยกระจายพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์ ให้เฉลี่ยทั่วถึงโลก และช่วยพัดพาเอาความชุ่มชื้นจากพื้นน้ำมาสู่พื้นดินด้วย ข้อสังเกต เราพบว่าการเคลื่อนที่ของอากาศมี 2 ชนิด ด้วยกันคือ ถ้าเคลื่อนที่ขนานไปกับผิวโลกเราเรียกว่า "ลม" (Wind) แต่ถ้าเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเราเรียกว่า "กระแสอากาศ" (Air current) สำหรับระบบการพัดของลมบนพื้นโลกส่วนหนึ่งเกิดเนื่องมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดแรงที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของกระแสอากาศ เราเรียกแรงดังกล่าวว่า 
"แรงคอริออลิส" เป็นแรงที่มีการเคลื่อนที่ไปในแนวนอน มีลักษณะที่สำคัญคือแรงนี้จะหมุนทำมุมตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศ ในซีกโลกเหนือ แรงเฉจะทำให้อากาศเคลื่อนที่ในแนวนอน เฉไปจากเดิมไปทางขวา และทางซีกโลกใต้ เฉไปจากเดิมทางซ้าย แรงนี้จะมีค่าสูงสุดที่ขั้วโลกทั้งสอง และมีค่าเป็นศูนย์ที่ศูนย์สูตร และค่าของแรงนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อละติจูดสูงขึ้น จนกระทั่งมีค่าสูงสุดเท่ากับหนึ่งหรือ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ขั้วโลกทั้งสอง
ทักษะ (Skill)
- ทักษะจำ
- ทักษะการเรียนรู้
- ทักษะการคิด
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการนำเสนอ
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี

เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- ทบทวนความรู้
- บรรยาย
- นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง
- ให้ทำกิจกรรมจากประเด็นปัญหา
- ให้นักศึกษานำเสนอผลงาน

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถออกแบบกิจกรรมการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ด้วยตนเองได้
- สามารถประดิษฐ์สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ได้
- มีความรู้ความเข้าใจวิทยาศาสตร์เรื่องลม
- มีวิธีการสอนเด็กเรื่องลมอย่างง่าย เหมาะกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย นำเสนอผลงานได้ดี
ประเมินเพื่อน - เพื่อนตั้งใจทำงาน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ทบทวนความรู้ให้นักศึกษา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดด้วยตนเอง และคอยให้คำแนะนำเป็นอย่างดี
Vocabulary คำศัพท์
Compare เปรียบเทียบ
Object วัตถุ
Hypothesis สมมติฐาน
Process กระบวนการ
wind turbine กังหันลม

เรียนรู้นอกห้องเรียน
มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2559

วันเวลาและสถานที่
ระหว่างวันที่ 18 -28 สิงหาคม 2559 
เปิดให้บริการระว่างเวลา 9.00 – 19.00 น. (เข้าชมฟรี)
ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค (Hall 2-8) เมืองทองธานี
แนวคิดในการจัดงาน
           งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปีและของประเทศ จัดขึ้นเพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยและพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมจากความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ แสดงถึงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่นำสมัย สามารถสร้างความตื่นเต้น สร้างแรงบันดาลใจ และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แก่สังคมไทย โดยเป็นโอกาสที่ประชาชนและเยาวชนทั่วไปจะได้เข้าถึงข้อมูลความรู้ ได้รับประสบการณ์ และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่สนุกสนาน ซึ่งจะก่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวก กระตุ้นการคิดและการตั้งคำถาม และนำไปสู่การเป็นผู้รักการเรียนรู้ตลอดชีวิตทางวิทยาศาสตร์ต่อไป รูปแบบของกิจกรรมในงานคล้ายเทศกาลวิทยาศาสตร์ (science festival) ในหลายประเทศ คือประกอบด้วย การจัดนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรูปแบบทันสมัยที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วม (interactive exhibition) โดยเน้นหัวข้อที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (New S-Curve) นอกจากนี้ยังนำเสนอประเด็นการเปลี่ยนแปลงของวิกฤตโลก เช่น ภาวะโลกร้อนกับความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และอื่น ๆ โดยเป็นการรวมพลังของหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อจัดแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ผลงานการวิจัย เทคโนโลยีและนวตกรรมของประเทศไทยและต่างประเทศ การประกวดและแข่งขันทางวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนและประชาชน กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Hands-on ในแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับทุกช่วงวัย การประชุม สัมมนา อภิปราย ฝึกอบรมทางวิทยาศาสตร์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการแสดงสินค้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
           ในปี 2559 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กำหนดจัด งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2559 หรือ National Science and Technology Fair 2016 ภายใต้แนวคิดหลัก (Theme) “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและนานาชาติ
3. เพื่อกระตุ้นความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทย
4. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาชีพด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป
นิทรรศการประกอบด้วย
1. พระอัจฉริยภาพ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. นิทรรศการกลาง
นำเสนอประเด็นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลังอยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีความสำคัญ มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการพัฒนาประเทศในอนาคต ซึ่งควรสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนและเยาวชน โดยในปี 2559 มีนิทรรศการพิเศษ อาทิ
  • นิทรรศการนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
  • นิทรรศการยานยนต์แห่งอนาคตและการขนส่ง
  • นิทรรศการการแพทย์ในยุคดิจิทัล
  • นิทรรศการอนาคตเทคโนโลยีชีวภาพโลก (World Biotech Tour)
  • นิทรรศการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความหลากหลายทางชีวภาพ
  • นิทรรศการมหัศจรรย์แห่งวิทยาศาสตร์ เรื่องของ “ไข่”
  • นิทรรศการในปีสากลของ UNESCO ถั่วพัลส์ ความหวังของประชากรโลก
3. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในแนวทางสะเต็มศึกษา
  • กิจกรรมพื้นที่นักนวัตกรรม จากความคิดสร้างสรรค์ สู่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ( FAB LAB & Maker’s space )
  • กิจกรรมห้องทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับครอบครัวและเยาวชน
  • กิจกรรมลานประกวดแข่งขัน เครื่องบินกระดาษพับ
  • กิจกรรมลานปลูกฝังปัญญาเยาว์ สำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของเด็กก่อนวัยเรียนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย
  • ห้องฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
  • การแสดงทางวิทยาศาสตร์
  • การประกวดแข่งขันตอบปัญหา มอบรางวัล
4. นิทรรศการศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
- แสดงผลงานความก้าวหน้าด้านการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกิจการด้านต่าง ๆ ของประเทศ จัดแสดงโดยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในประเทศไทย จากสถาบันวิจัย สมาคม สถาบันการศึกษา และกระทรวง ทบวง กรม
- ผลงานวิจัยของหน่วยงานวิจัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงกลาโหม ฯลฯ
- โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยคลินิกเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย
- ผลงานชนะเลิศเครื่องจักร เครื่องยนต์ และนวัตกรรมจากการประกวดเทคโนโลยีของไทย
- ผลงานดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย
- การเชิดชูเกียรติผู้บำเพ็ญประโยชน์ในสาขาวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลพระราชทานประจำปี รวมทั้งผู้เป็นบุคคลตัวอย่างด้านวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นต้น

5. การประชุม สัมมนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี 

ประกอบด้วยการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ของประเทศและภูมิภาค อาทิ
- การประชุมด้านนโยบายวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียน ASEAN STI Forum
- การประชุมความร่วมมือเพื่อพัฒนาเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคอาเชียน ASEAN +3 for Gifted in Science
- การบรรยายเกี่ยวกับพระอัจฉริยะภาพทางวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อการประกอบอาชีพสำหรับชุมชน
ข้อมูลจาก : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
กิจกรรมภายในงาน


พระบิดาเเห่งวิทยาศาสตร์ไทย
              เป็นที่ยอมรับกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาวิชาวิทยา-ศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาราศาสตร์ทรงมีความเชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์เทียบเท่ากับนักดาราศาสตร์สากล พระองค์ทรงวางรากฐานที่จะนำวิทยาการใหม่ของตะวันตก ตลอดจนความรู้ทางวิทยาศาสตร์แผนใหม่ และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารประเทศอย่างระมัดระวังและดัดแปลงให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ของประเทศ สิ่งใดแปลกใหม่ แม้ไม่ทรงได้เคยรู้มาก่อน ก็ทรงตั้งพระทัยติดตามศึกษาหาความรู้ด้วยน้ำพระทัยของนักวิทยาศาสตร์
              เมื่อนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีการประชุมกัน เพื่อพิจารณาหาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้ตกลงมีมติเลือกวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนวณคาดหมายไว้ว่าจะเกิดสุริยุปราคาที่ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาลสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 เมษายน อนุมัติให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นไป และได้ประกาศยกย่องว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย นับว่าเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง

เเบบจำลองรถไฟเหาะ



           ท่องโลกอวกาศ มีแบบจำลองเกี่ยวกับจักรวาล โลก ดวงอาทิตย์ ดวงดาว อวกาศที่อยูในระบบสุริยะ ที่สร้างจากทราย เป็นสื่อการศึกษานำมาใช้จัดประสบการณ์สอนเด็กปฐมวัยได้

แบบจำลองไดโนเสาร์ในตำนาน

ต่อมาเป็นโซนสำหรับเด็ก 
Kid Zone Little Scientist House Festival 






         เลโก้ช่วยเสริมสร้างจินตนาการมาก  ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ ใช้ทักษะทางด้านความคิด 
เลโก้สามารถช่วยได้ใน เรื่องของการคำนวณ พัฒนาสมองให้สามารถคิดซับซ้อนได้มากขึ้น แล้วเลโก้ก็มีหลายต่อหลาย Theme ให้เลือก ตามความชอบของแต่ละคน เช่น Theme Technic , MINDSTROMS , Creator บางตัว ก็ใช้เทคนิคทางวิศวกรรม เพราะมีพวกกลไกต่างๆเยอะ Theme อื่นๆเช่น  City , Castle , Movie ต่างๆ ก็เสริมสร้างในส่วนของสุนทรียศาสตร์ 



โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

แหล่ง หนังสือเรียนรู้วิทยาศาสตร์


         เมืองแห่งถั่ว ที่นี่จะทำให้เราได้รู้จักถั่วหลากหลายชนิด  รู้จักถั่วพัลส์ชนิดต่างๆ ซึ่งถั่วเขียว ถั่วแดง ก็คือถั่วพัลส์นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการเล่นกับเกมส์บิงโกถั่ว กิจกรรมร่วมสนุกกับการปลูกถั่วพัลส์ และมีโชว์การทำอาหารจากถั่วพัลส์อีกด้วย
ถั่วพัลส์: พืชวงศ์ถั่วที่มีโปรตีนและเส้นใยสูง ไขมันต่ำ
• มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและปราศจากกลูเตน
• ช่วยให้ผืนดินอุดมสมบูรณ์ ก่อให้เกิดความยั่งยืนของการทำเกษตรกรรม 
• คุณค่าเกษตรกรรม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เป็นพืชเศรษฐกิจ ใช้น้ำน้อย เกิดมลพิษทางอากาศน้อย
• สามารถนำมาประโยชน์ได้ทั้งแง่อาหารและด้านอื่นๆ




มหัศจรรย์แห่งไข่
นิทรรศการแบ่งออกเป็น 5 โซนดังนี้
ZONE 1: ไข่...จุดกำเนิดชีวิต จุดกำเนิดเรา
ทำความรู้จัก “ไข่” แล้วค้นหานิยามของการกำเนิดสิ่งมีชีวิต ผ่านการนำเสนอข้อมูลพื้นฐานน่ารู้ทางชีววิทยา อาทิ โครงสร้างและองค์ประกอบ รวมทั้งการจัดจำแนกไข่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ แล้วมาร่วมย้อยรอยวิวัฒนาการของการสืบเผ่าพันธุ์เพื่อการอยู่รอดผ่านเรื่อง ราวอันน่าทึ่งของไข่ฟองแรกของโลกที่มีอายุกว่า 500 ล้านปี
ZONE 2: มหัศจรรย์แห่งไข่
สัมผัสถึงความตื่นตา-ตื่นใจไปกับเรื่องราวอันหลากหลายของรูปทรง ขนาด และสีสันลวดลายของไข่ในสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่ธรรมชาติได้รังสรรค์ไว้อย่าง วิจิตรบรรจง ผ่านการจำลองบรรยากาศตามถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์แต่ละชนิดแบบสมจริง ที่จะนำไปสู่การไขปริศนาอันน่าทึ่ง แล้วพลาดไม่ได้กับ Highlight ชิ้นสำคัญของโซนนี้ ด้วยฟอสซิลไข่สัตว์เลื้อยคลานร่วมยุคไดโนเสาร์ที่เล็กกว่าไข่นกกระทา แต่มีอายุกว่า 125 ล้านปี นับเป็นไข่ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีรายงานการค้นพบในประเทศไทย
ZONE 3: ไข่ไขไอเดีย
ร่วมค้นหาแรงบันดาลใจ จาก “ไข่” ที่เป็นการรังสรรค์ของธรรมชาติสู่การสรรสร้างผลงานทางสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อ สร้าง “รูปทรงไข่” ของมนุษยชาติที่ข้ามกาลเวลามาจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งสะท้อนถึงสุนทรียศาสตร์แห่งการผสมผสานอย่างกลมกลืนระหว่างความงดงามและ ความแข็งแกร่งเชิงโครงสร้าง แล้วมาไขความลับชั้นเชิงช่างผ่านกิจกรรมการต่อแบบจำลองสถาปัตยกรรมรูปทรงไข่ ที่เปิดโอกาสให้ลงมือทำด้วยตนเอง
ZONE 4: สาระไข่น่ารู้
เปิดเผยเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่เป็นเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ “ไข่” ในมิติทางสังคมวัฒนธรรม ที่จะช่วยไขข้อข้องใจถึงที่มาที่ไปของ “ไข่” ที่ปรากฏเป็นชื่อของสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมล้อมอยู่รอบตัวเรามากกว่าที่คิด ตลอดจนการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับประโยชน์ของไข่ที่เป็นมากกว่าการให้คุณ ค่าทางโภชนาการ แต่รวมทั้งการบำรุงความงามและศิลปหัตถกรรมล้ำเลอค่า
ZONE 5: สนุกวิทย์ สนุก kid – “ไข่หรรษา”
โซนกิจกรรมทำมือที่เน้นความรู้คู่ความสนุกสนาน พบกับกิจกรรมเสริมศึกษาหลากหลายรูปแบบที่จะสลับผลัดเปลี่ยนกันมาเปิดโลก ประสบการณ์แห่งการค้นพบ อาทิ กิจกรรมทำมือไข่ลายพราง และกิจกรรมทำมือสบู่รูปไข่ รวมทั้งกิจกรรม “Miracle Science on Mini Stage”: ชุด Science Talk in Mini show และ 3 ตอนพิเศษสุดของ Research Show by Naturalist บริเวณเวทีกลาง
         ความมหัศจรรย์แห่งไข่ ที่นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว โครงสร้างของไข่ ยังเป็นแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์และนักออกแบบ ร่วมกันคิดค้นสถาปัตยกรรมที่น่าทึ่งขึ้นมาใช้ตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วโลก  โครงสร้างของไข่ที่นำมาซึ่งสถาปัตยกรรมทั่วโลก มีทั้งไข่ รูปทรงกรวย, ทรงหยดน้ำและรูปทรงไข่ (ทั่วไป) ขึ้นอยู่กับสภาพการทำรังไข่ในพื้นที่ต่างๆ เช่น นกที่มีการทำรังบนหน้าผาสูงชัน ไข่ก็จะมีรูปทรงที่กลิ้งไม่ไกล(จากพื้นรัง) หรือจะเป็นไข่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
           ไข่นกกระจอกเทศเป็นเเข่งที่มีความเเข็งเเรงมาก ไข่นกกระจอกเทศที่มีเนื้ออยู่ข้างในนั้นจะหนักถึงฟองละประมาณ 1 กก. 3 ขีด และมีความแข็งแรงถึงขนาดว่าเหยียบไม่แตก
คำอธิบาย
v
V
ลองทดสอบเหยียบดูแล้ว ไม่แตกจริงๆค่ะ ><

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการให้ความรู้และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น นิทรรศการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ที่นำเสนอภาพยนตร์ “The Last Day” ในรูปแบบ 4 มิติที่จำลองสถานการณ์เสมือนจริง ท่ามกลางอุบัติภัยทางธรรมชาติ โดยพาทุกย้อนเวลากลับไป ณ จุดกำเนิดโลก นิทรรศการอนาคตเทคโนโลยีชีวภาพโลก นำเสนออารยธรรมการหมัก เทคโนโลยีชีวภาพที่เก่าแก่และใกล้ตัวที่สุดตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ พร้อม “ไหดินเผา” สูดกลิ่น


ขอขอบคุณ Thank you.