วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

Record 8
Tuesday 27 September 2016
*Midterm exam



Record 7
Tuesday 20 September 2016

เริ่มต้นการเรียนวันนี้ด้วยการคัดลายมือ ก-ฮ ครั้งที่ 3 ยิ่งคัดบ่อยขึ้นก็จะชินมากขึ้นและทำเวลาได้ดียิ่งขึ้น

เสร็จแล้ว นำเสนอของเล่นอีกครั้ง ครั้งนี้อาจารย์อธิบายเนวคิดเรื่องของวิทยาศาสตร์อย่างละเอียด

ว่าว = กระเเสลมที่พัดเคลื่อนที่หรืออากาศเคลื่อนที่ทำให้ว่าวลอยอยู่ได้ และว่าวจะขึ้นได้ คือต้องมีเเรงถ่วง และเเรงลม ช่วยขับให้ว่าวลอยขึ้น
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กำหนดประเด็นปัญหา ว่าวลอยได้อย่างไร
ตั้งสมมติฐาน ว่าวขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ที่จะลอยได้ดีกว่า
ทดลอง เล่นว่าว เด็กเกิดข้อค้นพบ เกิดประสบการณ์จากรูปแบบว่าวที่หลากหลาย

รถเคลื่อนที่ด้วยลูกโป่ง = ใช้หลักการเเรงดันอากาศ เมื่อเป่าลมเข้าไปทำให้อากาศมีเเรงดัน อากาศเคลื่อนที่ จึงทำให้รถเคลื่อนที่ไปได้

เเตรขวดน้ำ = หลักการของการเป่าลม ทำให้อากาศไปปะทะกับลูกโป่ง ทำให้เกิดเสียงสะท้อนไปสะท้อนมาในขวดจึงทำให้เกิดเสียงก้อง และอากาศต้องการที่อยู่ตรงไหนที่มีรูมันเลยออกมาคือเสียงที่เป่าออกมานั่นเอง

ปี่หลอด = การเดินทางของเสียงผ่านตัวกลางเมื่อทำความสั้นความยาวต่างกัน

ตุ๊กตาล้มลุก = ตั้งน้ำหนักอยู่ที่ฐาน ทำให้จุดศูนย์ถ่วงอยู่คงที่ เมื่อผลักตุ๊กตาจะเด้งกลับมาตั้งเหมือนเดิม


ปอดขวดน้ำ = หลักการ ดูดอากาศจากภายนอกเข้าไปในถุงทำให้ถุงพองขยายออก เมื่อเป่าลมเข้าไปในหลอดถุงจะเเฟ้บลง อากาศต้อการที่อยู่ การลื่นไหลไปแทนที่ คล้ายการหายใจเข้าหายใจออก

ไก่กระต๊าก = เมื่อเชือกและฟองน้ำเสียดสีกัน ทำให้เชือกสั่นสะเทือน เกิดเสียงในกระบอกแก้วที่สะท้อนไปสะท้อนมา

ทะเลในขวด = น้ำและน้ำมัน น้ำมีความหนาเเน่นกว่าเลยจมอยู่ด้านล่าง น้ำมันมีความหนาเเน่นน้อยจึงอยู่ชั้นบน เกิดการเเยกชั้นกัน  *สารเเละสมบัติของสาร

กระโดดร่ม = หลักการของอากาศพยุงวัตถุที่มีพื้นที่ ทำให้วัตถุตกสู่พื้นได้ช้า

ลูกข่าง = ลูกข่างหมุนรอบตัวเอง หมุนรอบแกนกลาง

กระดานลูแก้ว = หลักการเเรงโน้มถ่วง ลูกแก้วเคลื่อนที่ตามความลาดเอียงทำให้ตกถึงพื้นช้า

ภาพ 3 มิติ = การมองเห็นภาพนูน-ต่ำ

ขวดเรือดำน้ำ = หลักการความดันอากาศ ในหลอดเเละฝาขวดมีอากาศอยู่ พอบีบจะเกิดแรงดันให้อากาศออกมา เกิดการน้ำเข้าไปแทนที่ทำให้ดินน้ำมันจมลง เมื่อปล่อยมันจะคลายตัวทำให้ดันน้ำออกมาอากาศจึงเข้าไปได้ทำให้ดินน้ำมันลอยขึ้น


เนื้อหาการเรียน (Knowledge)
*ตัวอย่างของเล่น
 
ใช้หลักการเดียวกับไม้หมุน

 
*หากเราสอนหน่วยไหนก็ออกเเบบของเล่นในหน่วยนั้น

       บูมเมอแรง boomerang อากาศที่ผ่านตรงส่วนที่หนาจะเดินทางได้ไกลและเร็วกว่า ความกดอากาศจึงน้อยกว่าด้านล่างซึ่งบางกว่า   ดังนั้นความกดที่สูงกว่าจึงยกบูมเมอแรงให้ลอย ส่วนการหมุนกลับมายังผู้ขว้างนั้น   อยู่ที่เทคนิคในขณะขว้าง   ผู้ขว้างจะต้องบิดข้อมือให้ได้จังหวะเพื่อให้บูมเมอแรงหมุนติ้ว แล้ววกกลับมายังที่เดิม

กิจกรรมภาพ 3 มิติ วาดมือของเราลงบนกระดาษแล้วลากเส้น 2-3 เส้นดังภาพ จะมองเห็นเป็นรูปมือ
สามมิติ



          การทดลอง น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ยิ่งวางต่ำลงเท่าไหร่น้ำจะยิ่งไหลออกมามาก เป็นการถ่ายเทของน้ำ แต่เมื่อนำขวดน้ำและรูปล่อยน้ำมาวางในระดับเดียวกัน น้ำจะไหลออกมาน้อยหรือไม่ไหลออกมาเลย เป็นหลักในการทำน้ำพุ


          การทดลองระดับน้ำในสายยาง แม้จะยกกรวยฝั่งไหนขึ้นระดับน้ำในสายยางก็จะเท่ากันใช้หลักการนี้ในการสร้างบ้าน

การทดลองดอกไม้บาน

กำหนดประเด็นปัญหา = ทำยังไงให้ดอกไม้บาน
ตั้งสมมติฐาน = ถ้าเอาดอกไม้ไปวางบนน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
ทดลอง = สังเกตุ ค้นพบข้อเเตกต่าง เห็นการเปลี่ยนแปลง
เเรงของน้ำซึมเข้าไทำให้กลีบบานออก เมื่อกระดาษเริ่มเปียก น้ำวิ่งไปตามพื้นที่ของกระดาษทำให้ดอกไม้บาน


นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ งานกลุ่ม
บ้านผีสิง การมองเห็นเงาสะท้อนจากแสงในกล่อง เรามองเห็นได้เพราะมีเเสงสะท้อนจากวัตถุเข้าสู่ตาเรา

กล้องโพรี่สโคป หลักการสะท้อนจากกระจก 2 บานทำมุม 45 องศา คือ ด้านล่างคนส่องสามารถมองเห็นด้านบน หรือมองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านหน้า ส่วนด้านบนก็สามารถมองเห็นคนที่ส่องเช่นกัน

กล้องสะท้อนภาพ ใช้แผ่นใสกั้นวัตถุไว้ เเละเมื่อลองส่องเข้าไปจะมองเห็นภาพหรือวัตถุที่อยู่ด้านบน

เบ็ดตกปลา ใช้เเม่เหล็กที่เป็นขั้วบวกขั้วลบกัน เกิดการดึงกัน ทำให้ปลาขึ้นมาติดอยู่ที่เบ็ด *ของเล่นนี้ยังไม่ผ่านอาจารย์จึงแนะนำของเล่นชิ้นใหม่ให้

ไฟฉายมหาสนุก ใช้หลักการเกี่ยวกับสีของเเสง คือ มีเเสงทั้งสาม ได้แก่ สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีเเดง ที่เป็นสีปฐม๓มิหรือแม่สี เมื่อนำเเสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกันจะเกิดเป็นสีทุติยภูมิ ซึ่งสีจะมีความเเตกต่างกันในเรื่องระดับความเข้มของสีและความสว่างของเเสง เราจะมองเห็นได้เพราะมีเเสงสะท้อนจากวัตถุเข้าสู่ตาเรา วิธีการคือเอาไฟฉายเข้าไปส่องที่กระบอกกระดาษแก้วแต่ละสี ก็จะเห็นสีต่างๆที่สะท้อนออกมา และเมื่อนำสี 2 สีมารวมกันจะเห็นเป็นสีใหม่

รางลูกกลิ้ง ใช้หลักการเรื่องเเรงโน้มถ่วง เมื่อลูกบอลกลิ้งลงไปตามทางที่มีความลาดเอียงทำให้วัตถุหรือลูกบอลตกสู่พื้นได้ช้าลง

ของเล่นของฉัน





ทักษะ (Skill)
- ทักษะการนำเสนอ
- ทักษะการเรียนรู้
- ทักษะการเขียน
- ทักษะการประดิษฐ์
- ทักษะการสังเกตุ
- ทักษะการทดลองวิทยาศาสตร์
- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี

เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- ให้นักศึกษานำเสนอผลงาน
- บรรยาย
- ยกตัวอย่าง สาธิต
- ให้นักศึกษาได้สังเกตุ
- ทำการทดลอง
- ให้นักศึกษาเรียนรู้อย่างอิสระ

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถประดิษฐ์ของเล่นวิทยศาสตร์ด้วยตนเองได้โดยทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- มีความรู้เรื่องของเล่นวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย และนำมาปรับใช้ได้ตามหน่วยที่เราจะใช้สอน
- สามารถนำกิจกรรมการวาดภาพ 3 มิติ ไปปรับใช้กับเด็กได้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- สามารถจัดกิจกรรมการทดลอง การเล่น เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้เช่น กิจกรรมน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ให้เด็กได้ลองสังเกตุและเกิดข้อค้นพบ

ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน นำเสนอผลงานได้
ประเมินเพื่อน - เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์ นำำเสนอผลงานของตนเองได้ดี
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ยิ้มแย้มแจ่มใส มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย มีการเตรียมพร้อมในเรื่องอุปกรณ์มาอย่างครบถ้วน

Vocabulary คำศัพท์
Garvity เเรงโน้มถ่วง
Flow ไหล
Slope ลาดเอียง
Intermediary ตัวกลาง
Flashlight ไฟฉาย

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

สรุปบทความ
เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย “เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก” กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว

             พ่อแม่สมัยใหม่ค่อนข้างมีความรู้และให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลานตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ “โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย” โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ในการอบรมโครงการนี้ มีการพบตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้ เด็กปฐมวัยจะได้เรียนรู้จักเชื่อมโยงจินตนาการจากนิทานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

             นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์
นิทานบางเล่มที่ไม่มีคำบรรยาย มีแต่ภาพอย่างเดียว ภาพก็จะสื่อให้เข้าใจได้เช่นกัน

            “การเล่านิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้” แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมขณะที่เล่า ใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน การใช้เสียงต่างๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง นอกจากเสียงเล่าแล้ว ยังมีรูปแบบอื่นประกอบ เช่น หุ่นมือ หุ่นนิ้ว วาดไปเล่าไป การนำของจริงที่เกี่ยวข้องกับนิทานมาให้เด็กดูประกอบการเล่านิทาน อาจทำให้เด็กอยากเกิดความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องที่เล่า ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงต่อยอดประสบการณ์ภายหลังได้ นิทานบางเรื่องถึงเด็กจะอ่านไปแล้ว แต่เด็กปฐมวัยยังอยู่ในวัยที่ชอบฟังซ้ำๆ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้ตามมาได้

           ในส่วนของคุณครูผู้สอนระดับปฐมวัยนั้น ปกติใช้นิทานในการเรียนการสอนอยู่แล้ว แต่อยากให้มองในการใช้นิทานเป็นสื่อในการพัฒนาเด็กหลายๆ ด้าน ไม่ใช่แต่เพียงด้านภาษาอย่างเดียว อยากให้สอดแทรกเรื่องอื่นเข้าไปด้วย ซึ่งครูสามารถใช้นิทานเป็นสื่อการเรียนการสอนได้เยอะแยะแตกแขนงมากมายหลายสาขาวิชา สามารถใช้นิทานเพื่อนำไปสู่การทำโครงงานเล็กๆ การทดลองเล็ก ๆ หรือการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ทำให้เกิดทักษะหลากหลายต่อยอดไปสู่การพัฒนาความคิดและทักษะอื่นๆ อีกมากมายได้
สรุปงานวิจัย 
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย 
โดยใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะ (THE DEVELOPMENT OF SCIENCE PROCESS SKILLS OF YOUNG CHILDREN EXPERIENCING LEARNING ACTIVITY WITH EXERCISED BOOK PACKAGE)
             
        การจัดกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะวิทยาศาสตร เปนกิจกรรมการ เรียนรูที่กําหนดหัวเรื่องการเรียนตามชุดแบบฝกทักษะวิทยาศาสตร โดยใชสมองเปนฐานการ เรียนรู (Brain - Based Learning) ซึ่งวิธีการสอนเนนผูเรียนเปนสําคัญ ผูเรียนกระทําดวยความคิด การแสดงออกอยางมีเหตุมีผล ตามมโนทัศนของเรื่องที่เรียน และทําชุดแบบฝกทักษะวิทยาศาสตร ทุกครั้งในการเรียนรูโดยมีเจตนาเพื่อใชในการทบทวน ฝกการขีดเขียนจากการสังเกต การจําแนก ประเภท การสื่อสาร และการลงความเห็น ซึ่งตรงกับการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร ของเด็กปฐมวัยและเปนการสงเสริมการทํางานของสมองซีกซาย และซีกขวาของผูเรียนใหทํางาน สัมพันธกันอยางมีคุณภาพ ซึ่งสงผลทําใหเปนผูมีความฉลาดทางปญญาและอารมณ มีทักษะใน การแกปญหาตางๆ สามารถพัฒนาตนเองใหอยูรวมกับธรรมชาติ สิ่งแวดลอม และผูอื่นไดดี ทั้งนี้ ครูมีบทบาทในการกระตุนใหผูเรียนเกิดการเรียนรู สรางบรรยากาศการเรียนรูที่อบอุน เพลิดเพลิน แสดงการยอมรับในความสามารถและความแตกตางของผูเรียน พรอมชี้แนะ และเสริมขอความรู ที่ผูเรียนคนพบจากชุดแบบฝกทักษะวิทยาศาสตรและรูดวยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ วิทยาศาสตรใหเกิดกับเด็กปฐมวัย

ความมุงหมายของการวิจัย  
ในการวิจัยครั้งนี้  ผูวิจัยไดตั้งความมุงหมายไว ดังนี้  
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนก รายทักษะ หลังการใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะ  
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยกอน และหลังการใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะ

ประชากรและกลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัย  
ประชากร  ประชากรที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหวาง 4 - 5 ป ซึ่ง กําลังศึกษาอยูชั้นอนุบาลศึกษาปที่ 2 ภาคเรียนที่  1 ปการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร  เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2   

กลุมตัวอยาง  กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหวาง 4 - 5 ป  ซึ่ง กําลังศึกษาอยูชั้นอนุบาลศึกษาปที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร  เขตพื้นที่การศึกษา 2 ไดมาจากการสุมอยางงาย โดยการจับ สลากเลือก
จํานวน 1 หองเรียน จากจํานวน 2 หองเรียน และผูวิจัยสุมนักเรียนเขากลุมทดลอง จํานวน 15 คน   

ระยะเวลาในการทดลอง  การศึกษาครั้งนี้ ทําการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 ใชเวลา
ในการ ทดลอง 8 สัปดาห สัปดาหละ 3 วัน วันละ 30 นาที 

ตัวแปรที่ศึกษา  
1. ตัวแปรอิสระ   กิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะวิทยาศาสตร
2. ตัวแปรตาม ไดแก ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร 4 ดาน คือ   
                  2.1 การสังเกต   
                  2.2 การจําแนกประเภท   
                  2.3 การสื่อสาร   
                  2.4 การลงความเห็น 

กรอบแนวคิดในการวิจัย
ชุดแบบฝกทักษะวิทยาศาสตร 
1. ธรรมชาติรอบตัว : การสังเกต 
2. สิ่งแวดลอมรอบตัวเรา :  พืช 
3. สิ่งแวดลอมรอบตัวเรา : สัตว 
4. ธรรมชาติรอบตัว : โลกของเรา 
กิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะ 
• ขั้นนํา 
• ขั้นสอน  แบงออกเปน 2 ตอน ตอนที่  1  จัดกิจกรรมการเรียนรู    
                                                 ตอนที่  2  ทําชุดแบบฝกทักษะวิทยาศาสตร 
• ขั้นสรุป

ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร 
1. การสังเกต
2. การจําแนกประเภท 
3. การสื่อสาร 
4. การลงความเห็น 

หลักการจัดกิจกรรม 
1. กิจกรรมนี้จัดในชวงกิจกรรมเสริมประสบการณ  
2. การปฏิบัติกิจกรรมดําเนินตามลําดับขั้นตอนดังนี้   
         2.1 ขั้นนํา    เตรียมเด็กนักเรียนใหพรอมเรียนโดยจัดกิจกรรมตางๆ เชน การสนทนา เลา นิทาน รองเพลง ปริศนาคําทาย เพื่อนําเขาสูบทเรียน ครูบอกจุดมุงหมายการเรียน  
          2.2 ขั้นสอน แบงเปน  2 ตอน    
ตอนที่ 1 ครูดําเนินกิจกรรมการสอน โดยใชกระบวนการจัดกิจกรรมที่เนนการ กระทําดวยความคิด การแสดงออก เรียนรูแบบรวมมือ เรียนรูดวยการคนพบ  และทราบถึง ความกาวหนาในการเรียนรูของตนเอง ซึ่งในการเรียนรูแตละเรื่อง เด็กจะไดเขารวมกิจกรรม  การนําเสนอผลงาน การประเมินการเรียนรูรวมกับครู โดยครูเปนผูประเมินหรือตั้งคําถามใหเด็ก ประเมินตนเองและเพื่อน    
ตอนที่ 2 ทําชุดแบบฝกทักษะตามมโนทัศนของเรื่องที่เรียน 
          2.3 ขั้นสรุป    เด็กและครูรวมกันสรุปมโนทัศนเรื่องที่เรียนหรือนําเสนอผลงานในแบบฝก ทักษะวิทยาศาสตร ดวยกิจกรรมอยางใดอยางหนึ่ง เชน ตอบคําถาม สาธิต หรือเสนอผลงาน 


สรุปผลการศึกษาคนควา  
1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใชกิจกรรม การเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะอยูในระดับดีมากและจําแนกรายทักษะ อยูในระดับดีมาก 3 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยูในระดับดี 1 ทักษะ คือ ทักษะการจําแนกประเภท   
2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย หลังการใชกิจกรรมการเรียนรู ประกอบชุดแบบฝกทักษะสูงขึ้นกวากอนการใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 


แผนที่ 2 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะวิทยาศาสตร
แบบฝกทักษะเรื่อง ธรรมชาติรอบตัว : การสังเกต 
เรื่องยอย  :  เงา 

ชั้นอนุบาลปที่  2  
เวลาสอน        30 นาที 
มโนทัศน        เงา หมายถึง สวนที่มืดเพราะมีวัตถุบังแสง ทําใหแลเห็นเปนรูปของวัตถุนั้น 
จุดประสงค  
1. พัฒนากลามเนื้อมัดใหญและกลามเนื้อมัดเล็ก  
2. มีความสุขกับการระบายสีรูปภาพใหสวยงาม  
3. พัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร      
- การสังเกต  บอกวัตถุทึบแสงกับเงาได      
- การจําแนกประเภท  จําแนกภาพเงาตามขนาดของรูปทรงได     
- การสื่อสาร  อธิบายไดวาเงาเกิดจากแสงไมสามารถสองผานวัตถุทึบแสงไดจึงทําใหเห็นเปนภาพเงา    
- การลงความเห็น สรุปไดวา เงาเกิดจากที่แสงสองผานวัตถุทึบแสงไมไดจึงเห็นเปนภาพเงา 
กิจกรรมการเรียนการสอน  
ขั้นนํา    
  •  ครูพาเด็กไปกลางสนามหญาที่แสงแดดสอง    
  •  แลวชวนเด็กนั่งใตรมไม 
ขั้นสอน    
  • ครูนํารม หมวก กระดาษ A4 จํานวน 4 ชุด    
  • ครูนําของทุกอยางที่เตรียมไวไปบังแสงแดดอยู กลางแจงทุกอยาง ใหเด็กเคลื่อนไหวตามคําสั่ง แลว ใหเด็กทุกคนสังเกต    
  • ใหเด็กทุกคนกลับเขาหองเลือกวัสดุคนละ 1 ชิ้น แลวไปยืนอยูหลัง ผามานสีขาว แลวใชไฟฉายสองไป ที่วัตถุนั้นแลวใหเพื่อนๆ ชวยกันตอบ วาเห็นเปนภาพ เงาของอะไร 
  • ทําแบบฝกทักษะวิทยาศาสตร    
  • นําเสนอผลงานในแบบฝกทักษะ 
ขั้นสรุป 
  • ครูใหเด็กชวยกันสรุปวาเงาเกิดขึ้นไดอยางไร    
  • เด็กชวยกันบอกวาเกิดจากที่แสงไมสามารถสองผานวัตถุทึบแสงได 
 สื่ออุปกรณการสอน 
  • สนามหญาบริเวณ โรงเรียนที่มีแสงแดด 
  • รม หมวก  กระดาษ A4  
  • ของเลน สัตวจําลอง เชน รถ ลูกโปง ตุกตา ชาง มา ไก วัว กบ    เตา งู ฯลฯ 
  • แบบฝกทักษะ วิทยาศาสตร เรื่อง การสังเกต หนาที่ 9 
  • ไฟฉาย ผาสีขาว ผาสีดํา 
บทบาทครู 
  •  นําเด็กเขาสูบทเรียน 
  • จัดเตรียมสื่อที่  นาสนใจอยางเพียงพอ 
  • กระตุนใหเกิดทาง เลือกในการหาคําตอบ 
  • กระตุนใหเด็กเกิด การรวบรวมสรุป
  • ดูแลใหคําปรึกษา อยางใกลชิด 
  • สาธิตใหเด็กดู อีกครั้ง 
  • กระตุนใหเด็กเรียนรู ตอเนื่อง 
การประเมินผล  
1. สังเกตการเขารวมกิจกรรมกับเพื่อนและการแสดงออก 
2. สนทนาซักถามเกี่ยวกับสาเหตุที่ทําใหเห็นเปนรูปเงา  
3. ตรวจผลงานใบแบบฝกทักษะ 

ชุดที่  1 
แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย ดานการสังเกต 

ขอที่   1 
เวลา   2  นาที 
สถานการณ  
          ใหเด็กดูจานใสกอนหิน 1 ใบ และจานใสทราย 1 ใบ แลวเขยาลูกไขพลาสติกที่มี ลักษณะเหมือนกัน จํานวน 4 ลูก ซึ่ง 2 ลูก บรรจุทรายและอีก 2 ลูกบรรจุกอนหิน ชั่งน้ําหนัก เทากัน เมื่อเด็กเขยาฟงเสร็จแลว ใหเด็กตอบทีละ 1 ลูกวามีสิ่งใดบรรจุอยูในไข 

 อุปกรณ  
1. ลูกไขพลาสติกที่มีลักษณะเหมือนกัน  จํานวน 4 ลูก  
2. ทราย  1 จาน  
3. กอนหิน  1 จาน 
เกณฑการใหคะแนน  1 คะแนน  หมายถึง เด็กตอบไดถูกตองทั้ง 4 ลูก  
                                  0 คะแนน  หมายถึง เด็กที่ตอบผิดหรือไมตอบ 

ชุดที่  3  
แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย ดานการสื่อสาร 

ขอที่   3 
เวลา   2  นาที 
สถานการณ  
          ในกลองกระดาษทึบแสงมีชองสําหรับมองผานเขาไปดูได ภายในมีดวงดาว ดวงจันทร เรืองแสงติดอยูตามผนังดานใน ใหเด็กมองดู ครั้งที่ 1 ดูดวยตาเปลา  ครั้งที่ 2 ใชไฟฉายสองดู  แลวถามเด็กวา เห็นอะไรบาง การดูครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 มีความแตกตางกันหรือไม อยางไร ให เด็กอธิบาย 

อุปกรณ  
1. กลองกระดาษทึบแสง ภายในติดดวงดาว ดวงจันทร เรืองแสงตามผนังดานใน  
2. ไฟฉาย 
เกณฑการใหคะแนน  1 คะแนน  หมายถึง อธิบายไดวาดูครั้งที่ 1 มืด ครั้งที่ 2 สวาง หรือ ดูครั้งที่ 1                                                                              ไมเห็นอะไร แตดูครั้งที่สองเห็นดวงดาว และดวงจันทร  
                                  0 คะแนน  หมายถึง อธิบายไมเขาใจหรือไมอธิบาย