วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Record 17
Monday 28 November 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)

หน่วยอากาศ(คุณสมบัติอากาศ) - วันอังคาร
ขั้นนำ  นำด้วยเพลงลมพัด "ลมพัดมา พาให้เราเย็นสบาย ไม้ดอกไม้ใบ ก็เอนลู่ไปตามลม"
ขั้นสอน สอนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยเริ่มจากการตั้งประเด็นปัญหา  ตั้งสมมติฐาน และไปสู่การทดลอง ที่เป็นฐานกิจกรรม เช่น ฐานที่ 1 อากาศยกหนังสือได้ เป็นต้น


หน่วยยานพาหนะ (ปัจจัยการเคลื่อนที่) - วันพุธ
ขั้นนำ  ทำให้เด็กสนใจด้วย การให้ดูวิดีโอยานพาหนะ แล้วถามเด็กว่า ในสถานการณ์คนทำอะไร ทำให้กับอะไร เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน ถามเด็กๆว่านอกจากน้ำมันเเละเเก๊ส มีอะไรอีกบ้างที่ทำให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ได้ เมื่อเด็กๆตอบครูก็เเนะนำเพิ่มเติมในสิ่งที่เด็กยังไม่รู้ เช่น พลังงานเเสงอาทิตย์
ขั้นสอน ให้เด็กๆออกมาแปะ ว่ายานพาหนะใดคู่กับแหล่งพลังงานใด บนกะดาน เสร็จแล้วสรุปให้เด็กฟัง


หน่วยดอกไม้ - วันศุกร์
ขั้นนำ เล่านิทานเกี่ยวกับดอกไม้ 
ขั้นสอน พูดเกี่ยวกับประโยชน์ของดอกไม้ วามีประโยชน์หลายชนิด เเละวันนี้ครูมี 1 กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ของดอกไม้มาให้เด็กๆทำ คือการแปรรูปดอกไม้ โดยทำสีผสมอาหารจากดอกไม้ ให้เด็กๆคั้นดอกไม้ด้วยตัวเอง พร้อมกับให้เด็กๆสังเกตว่าดอกไม้ที่คั้นเป็นสีอะไร
อาจารย์เเนะนำว่า อาจจะเป็นกิจกรรมทำสบู่ดอกไม้ก็ได้ เพราะการแปรรูปนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เครื่องจักรในการผลิต ดังนั้นกิจกรรมที่ทำกับเด็กจึงต้องเป็นกิจกรรมที่ง่าย เช่นการทำสบู่ โดยให้เด็กนั่งเป็นกลุ่ม แล้วครูแจกดอกไม้ให้เด็กๆช่วยกันคั้น แล้วนำมากวนในหม้อครูเป็นคนกวนให้ เสร็จแล้วให้เด็กๆมาตักสบู่ใส่พิมพ์ลวดลายต่างๆ


ทักษะ (Skill)
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการสังเกต
- ทักษะการคิด

เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- บรรยาย
- ให้คำเเนะนำ
- สอดเเทรกคุณธรรม

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถนำไปจัดกิจกรรมในเเต่ละหน่วยการสอนได้ในอนาคต โดยมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมหรือใช้กิจกรรมเดิม ทำกิจกรรมให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือกับเพื่อน
ประเมินเพื่อน -  เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน 
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการอธิบายให้คำเเนะนำที่ดีกับนักศึกษา

Vocabulary คำศัพท์
Comment ข้อคิดเห็น
Experiment ทดลอง
Rocket จรวด
Energy พลังงาน
Transform แปรรูป

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Record 16
Tuesday 22 November 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
                     วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการเรียนการสอนเเบบการบูรณาการ STEM คือ การทำวิดีโอคานดีดไม้ไอติมที่อัพลงบน Youtube โดยในวิดีโอ จะมีการบอกวัสดุ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการทำอย่างละเอียด
วัสดุ/อุปกรณ์
1. ไม้ไอติม 4 อัน
2. หนังยาง 4 เส้น
3. ฝาขวดน้ำ
4. กาว
ขั้นตอนการทำ
ขั้นตอนที่ 1 นำไม้ไอติมสีแดง 2 อัน มามัดตัดกันทั้งสองด้าน
ขั้นตอนที่ 2 นำไม้ไอติมสีขาว 2 อัน มารัดด้วยยางที่ด้านใดด้านหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 3 นำไม้ไอติมสีแดงสอดระหว่างไม้ไอติมสีขาว
ขั้นตอนที่ 4 รัดยางตรงจุดที่เชื่อมไม้ไอติมทั้งสองอันให้ติดกัน
ขั้นตอนที่ 5 นำฝาขวดน้ำมาติดที่ปลายไม้ไอติมสีขาว

ขั้นตอนการสอน
1. ให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ แล้วถามเด็กๆว่าเด็กรู้ไหมว่าอุปกรณ์เหล่านี้สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง และอุปกรณ์พวกนี้คืออะไร
2. ตั้งประเด็นปัญหา คือ ถามเด็กๆว่ามันมีเครื่องมือหรือวิธีการอะไรบ้างที่จะส่งของข้ามเเม่น้ำไปได้โดยไม่มีเรือ (ให้เด็กตอบ)
3.หาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เปิดขั้นตอนการประดิษฐ์คานดีดไม้ไอติมให้ดู 
4. ครูสาธิตขั้นตอนการประดิษฐ์คานดีดไม้ไอติม และเปิดวิดีโอทบทวนให้เด็กดูอีกครั้ง
5. เด็กออกมาหยิบอุปกรณ์ใส่จาน แล้วลงมือประดิษฐ์
6. ตั้งสมมติฐานวิธีการเล่น เช่น ทำเเบบนี้มันจะเกิดอะไรขึ้น หรือ มีวิธีการเล่นแบบไหนได้บ้าง
7. เด็กทดลองเล่นของตนเอง ได้สังเกตเกิดข้อค้นพบในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
8. ทดสอบดูว่าคานดีดของเเต่ละคนของใครมีประสิทธิภาพมากน้อยเเค่ไหน
9. สรุปผล


อาจารย์ให้นั่งเรียนเป็นกลุ่มแล้วตั้งคำถามว่า ของเล่นที่เราประดิษฐ์ขึ้นนั้น สามารถนำไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันอะไรได้บ้าง เช่น หลอดมหัศจรรย์ เชื่อมโยงกับ ตุ๊กตาเรียกความสนใจ ขวดน้ำนักขนของ เชื่อมโยงกับหนังสติ๊กยิงต้นก


          อาจารย์สอดเเทรกคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษาพร้อมกับอวยพรให้นักศึกษาในการสอบปลายภาค

ทักษะ (Skill)
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการคิด
- ทักษะการเชื่อมโยง


เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- บรรยาย
- ให้คำเเนะนำ
- สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถนำความรู้จากที่ได้เรียนมาทั้งหมด ไปจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้ โดยมีกิจกรรมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์ของเล่น หรือการจัดหน่วยการสอนที่ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ 

ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน -  เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการอธิบายสอดแทรกคุณธรรมให้นักศึกษาอยู่เสมอ

Vocabulary คำศัพท์
Shoot ยิง
Connect เชื่อมโยง
Everyday life ชีวิตประจำวัน
Leather Stick หนังสติก
Moral  คุณธรรม

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ReCord 15
Tuesday 15 November 2016

เนื้้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
           หลังจากเรียนเขียนแผนการสอนเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว วันนี้เป็นการปฏิบัติการสอนจริงตามแต่ละหน่วย โดยเริ่มตั้งเเต่วันจันทร์ - วันศุกร์ตามลำดับ

หน่วยผลไม้ - วันจันทร์
ขั้นนำ  กลุ่มนี้เริ่มจากเทคนิคการเก็บเด็ก คือ ร้องเพลงเส้นหมี่ และอ่านคำคล้องจองผลไม้ให้เด็กๆฟัง หลังจากนั้นจะถามเด็กว่าในคำคล้องจองนี้มีผลไม้อะไรบ้าง และนอกจากผลไม้ในคำคล้องจองเด็กๆรู้จักผลไม้อะไรอีกบ้าง โดยมีการเขียนบันทึกลงในกระดาษ 
ขั้นสอน นำตะกร้าผลไม้ออกมาแล้วถามเด็กๆว่า เด็กๆคิดว่าในตะกร้านี้มีอะไร หลังจากเปิดผ้าก็ถามเด็กๆว่า เด็กๆคิดว่ามีผลไม้กี่ชนิด มีอะไรบ้าง หยิบให้เด็กๆดูทีละชนิดแล้วให้เด็กๆตอบแล้วใช้ตัวเลขฮินดูอารบิคมากำกับ ต่อมานำผลไม้มาแยกกลุ่มโดยใช้เกณฑ์ผลเดี่ยว คือ มีหนึ่งผลอยู่ในช่อ นอกนั้นไม่ใช่ผลรวมเเต่เราเรียกมันว่าผลเดี่ยว จากนั้นนับว่ากลุ่มไหนมีจำนวนมากกว่ากันโดยหยิบออก 1 ต่อ 1



หน่วยไข่ - วันอังคาร
ขั้นนำ ให้เด็กๆช่วยกันต่อจิ๊กซอว์รูปไข่ โดยร้องเพลงให้เด็กๆหลับตาแล้วครูเดินแจกจิ๊กซอว์ให้เด็ก
ขั้นสอน ให้เด็กๆ ดูลักษณะของไข่ไก่ สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบ กลิ่น และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์ ต่อมาให้เด็กๆ สังเกตลักษณะของไข่เป็ด สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบ กลิ่น และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์ จากนั้นสรุปความเหมือนความต่างของไข่เป็ดและไข่ไก่ลงในไดอะเเกรม

ดมกลิ่่น

หน่วยต้นไม้ - วันพุธ
ขั้นนำ = นำเด็กๆร้องเพลงการดูแลต้นไม้ แล้วถามเด็กๆว่าในเพลงนี้มีวิธีการดูแลต้นไม้อะไรบ้าง จากนั้นถามเด็กๆอีกว่านอกเหนือจากในเพลงนี้มีวิธีการดูแลรักษาต้นไม้อย่างไรอีกบ้าง
ขั้นสอน = ครูสาธิตวิธีการปลูกถั่วงอก จากนั้นให้เด็กๆจับกลุ่มเพื่อที่จะปลูกถั่วงอกและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของถั่วเขียว
*เพิ่มเติม เเผ่นชาร์ตขั้นตอนการปลูกถั่วงอก


หน่วยปลา - วันพฤหัสบดี
           เริ่มด้วย อ่านขั้นตอนและวัตถุดิบในการทำคุกกิ้งปลาชุบแป้งทอด กลุ่มนี้จะเเตกต่างจากกลุ่มอื่นโดยจัดกิจกรรมคุกกิ้งเป็นฐาน โดยให้เด็กทำทีละฐาน แล้ววนทำจนครบทุกฐาน
ฐานที่ 1 ตัดกระดาษซับน้ำมันเป็นรูปวงกลม
ฐานที่ 2 หั่นปลาดอลลี่ 2 ชิ้น
ฐานที่ 3 นำปลาไปชุบแป้ง
ฐานที่ 4 ทอดปลาโดยมีครูเป็นผู้ทอดให้ แล้วให้เด็กๆสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเนื้อปลา

ทักษะ (Skill)
- ทักษะการสอน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการฟัง


เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- บรรยาย
- ให้คำเเนะนำ

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถนำไปจัดกิจกรรมในเเต่ละหน่วยได้ โดยมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมหรือใช้กิจกรรมเดิม ทำกิจกรรมให้มีความน่าสนใจและพยายามไม่มองข้ามสิ่งเล็กๆที่จะสามารถส่งเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กได้ เช่น การเพิ่มตัวเลขเขามากำกับ เป็นการบูรณาการคณิตศาสตร์ เป็นต้น

ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนตั้งใจทำงาน
ประเมินเพื่อน -  เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการอธิบายให้คำเเนะนำที่ดีกับนักศึกษา

Vocabulary คำศัพท์
rhymes คำคล้องจอง
guava   ฝรั่ง
type      ลักษณะ
bean sprouts ถั่วงอก
Chip      หั่นเป็นชิ้น

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Record 14
Tuesday 8 November 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
วันนี้เป็นการนำเสนอ วิดีโอสาธิตขั้นตอนวิธีการทำของเล่นที่แก้ไขเรียบร้อยแล้ว

ขวดน้ำนักขนของ

คานดีดไม้ไอติม

             วิดีโอเป็นสื่อการสอนตามเเนวคิด STEM การใช้สื่อเทคโนโลยีสอนเด็ก เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการสอนเท่านั้น เเต่ในกระบวนการก็ยังเป็นครูอยู่ที่เป็นผู้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก

             กิจรรมต่อมาอาจารย์ให้นั่งตามกลุ่มหน่วยการสอน ได้แก่ หน่วยไข่ หน่วยผลไม้ หน่วยต้นไม้ หน่วยอากาศ หน่วยปลา หน่วยดอกไม้ และหน่วยยานพาหนะ เพื่อจะนำเสนอแผนการสอนของเเต่ละวัน จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี เเละศุกร์ โดยอาจารย์จะช่วยปรับแก้ไขและให้คำเเนะนำเพิ่มเติม


แผนการสอนหน่วยไข่
 วันจันทร์ เรื่อง ชนิด/ประเภท
วัตถุประสงค์
1. เด็กบอกชื่อไข่ได้อย่างน้อย 5 ชนิด
2. เด็กสามารถจัดประเภทของไข่ได้
3. เด็กนับจำนวนไข่ได้โดยใช้เลขฮินดูอารบิคกำกับ
4. เด็กสามารถตอบคำถามได้
สาระที่ควรเรียนรู้
            ไข่มีหลายชนิด ไข่เเต่ละชนิดมีช่อเรียกเเตกต่างกัน เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่ห่าน สามารถจัดเเบ่ง
ออกได้เป็น 2 ประเภท
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านสติปัญญา
- การรู้จักสิ่งต่างๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรสและกลิ่น
- การพูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง
- การสำรวจอธิบายความเหมือน ความต่างของสิ่งต่างๆ
- การจับคู่ การจำเเนก การจัดกลุ่ม
- การเปรียบเทียบ
- การคาดคะเนสิ่งต่างๆ
- การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน
- การนับสิ่งต่าง
- การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. เด็กและครูอ่านคำคล้องจองไข่ร่วมกัน
"ไข่ไข่ไข่ ไข่มีหลายชนิด ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่ห่าน มาสิมาทานกันเถอะเด็กดี"
2. ถามเด็กว่าในคำคล้องนี้เด็กรู้จักไข่อะไรบ้าง แล้วบันทึก จากนั้นถามเด็กอีกว่านอกจากในคำคล้องจองนี้เด็กๆรู้จักไข่อะไรอีกบ้าง
ขั้นสอน
3. นำไข่เป็ดและไข่ไก่ใส่แฝงไข่คลุมผ้าไว้ แล้วถามเด็กๆว่าในผ้านี้มีอะไร เมื่อเด็กตอบถามเด็กอีกว่ามีไข่อะไรบ้าง และเด็กๆคิดว่ามีไข่กี่ฟอง เสร็จแล้วนำออกมานับพร้อมใส่ตัวเลขฮินดูอารบิคกำกับ
4. หยิบไข่ออกมาทีละฟอง นำมาจัดกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ไข่ไก่ มีสีเหลืองออกน้ำตาล นี่คือไข่ไก่ แล้วให้เด็กๆออกมาสังเกตดูว่าไข่ใบไหนที่เป็นไข่ไก่อีก ให้เด็กจับไข่ไก่เเยกออกมาจนหมด และที่เหลือไม่ใช่ไข่ไก่  เราเรียกมันว่าไข่เป็ด
5. นับดูว่าไข่กลุ่มไหนมีจำนวนมากกว่ากัน นับ 1 ต่อ 1
ขั้นสรุป
6. ถามเด็กว่าวันนี้เด็กรู้จักไข่อะไรบ้าง
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- แผ่นชาร์ตคำคล้องจองไข่
- แผ่นชาร์ตบันทึกชื่อไข่ที่เด็กรู้จัก
- ไข่เป็ด ไข่ไก่
- แฝงไข่
- ตัวเลขฮินดูอารบิค 
การวัดเเละประเมินผล
1. จากการสนทนาถามเด็ก
2. จากการสังเกตกระบวนการขณะเด็กทำกิจกรรมจัดประเภทไข่
3. จากการสังเกตกระบวนการขณะเด็กนับจำนวนและใช้เลขฮินดูอารบิคกำกับ
4. จากการสนทนาถามเด็ก
การบูรณาการ
คณิตศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์

แผนการสอน หน่วยไข่ (วันอังคาร) 
เรื่อง ลักษณะของไข่
วัตถุประสงค์
1. เด็กอธิบายลักษณะที่เหมือนและต่างกันของไข่ได้ เช่น สี ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ และกลิ่น
2. เด็กวิเคราะห์ลักษณะของไข่ได้ เช่น สี ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ กลิ่น และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์
3. เด็กเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของไข่ได้ โดยใช้ไดอะแกรม
4. เด็กบอกจำนวนของไข่ได้
สาระที่ควรรู้
      ไข่มีลักษณะที่แตกต่างกัน สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบ และกลิ่น เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่
ประสบการณ์สำคัญ
-  การวิเคราะห์      
-  การเปรียบเทียบ
-  การนับและบอกจำนวนเชื่อมโยงกับตัวเลข
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ให้เด็กๆ ช่วยกันต่อจิ๊กซอว์รูปไข่
ขั้นสอน
2. ให้เด็กๆ ดูลักษณะของไข่ไก่ สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบ กลิ่น และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์
3. ให้เด็กๆ ดูลักษณะของไข่เป็ด สี ขนาด รูปทรง ส่วนแระกอบ กลิ่น และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์
ขั้นสรุ
4. คุณครูและเด็กช่วยกันสรุปลักษณะของไข่ไก่และไข่เป็ด
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. จิ๊กซอว์รูปไข่
2. ไข่ไก่
3. ไข่เป็ด
4.  ถ้วยใส่ไข่
5.  แผ่นชาร์ตตารางวิเคราะห์
6.  แผ่นชาร์ตไดอะแกรม
7.  ปากกา
8.  ไม้ชี้
การวัดเเละประเมินผล
1. สังเกตจากการอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของไข่แต่ละฟอง
2. สังเกตจากการฟังและตอบคำถามของครู
3. จากการสังเกตการเปรียบเทียบลักษณะของไข่
4. จากการสังเกตที่เด็กนับและใช้ตัวเลขฮินดูอารบิคกำกับ
การบูรณาการ
- ภาษา
- วิทยาศาสตร์
- คณิตศาสตร์

แผนการสอน หน่วย ไข่
วันพุธ การเปลี่ยนแปลง เรื่อง การถนอมไข่
วัตถุประสงค์
1.เด็กสามารถสังเกตไข่สดและไข่ที่เป็นไข่เค็มได้
2.เด็กสามารถบอกวิธีในการทำไข่เค็มได้
3.เด็กสามารถตอบคำถาม การสรุปผลการทดลองและแสดงความคิดเห็นได้
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้ การถนอมอาหารจากไข่ โดยการทำไข่เค็ม
ประสบการณ์สำคัญ 
สังเกตการเปลี่ยนแปลงของไข่ การสื่อความหมาย
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ 
1.ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงไข่
ขั้นสอน 
2. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาพูดคุย ถึงวิธีในการถนอมอาหารจากไข่ โดยใช้คำถามว่า เด็กๆคิดว่าการถนอมไข่สามสารถทำอะไรได้บ้าง นอกจากการทำไข่เค็ม
3.ครูนำอุปกรณ์ในการทำไข่เค็มมาให้ดูแล้วให้เด็กๆทายว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง วันนี้เราจะมาทำกิจกรรมอะไรกัน หลังจากนั้นครูก็สาธิตวิธีในการทำไข่เค็มให้เด็กๆดูเป็นตัวอย่าง
4.เด็กๆลงมือปฏิบัติทำกิจกรรม
ขั้นสรุป 
5.เด็กและครูพูดคุยสนทนากันหลังจากที่เด็กทำกิจกรรมเสร็จแล้ว
6.เด็กๆทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็กของให้เข้าที่
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1.แผ่นชาร์จเพลงไข่
2.ไข่เป็ด
3.น้ำเกลือ
4.ขวดโหล
5.หม้อ/กระทะ
การวัดและการประเมินผล
1.จากการสังเกตเด็กสามารถแยกระหว่างไข่สดกับไข่เค็มได้
2.จากการสังเกตเด็กสามารถเข้าใจและบอกขั้นตอนการทำไข่เค็มได้
3.จากการสังเกตเด็กสามารถตอบและแสดงความคิดเห็นได้
การบูรณาการ
1.วิทยาศาสตร์
2.คณิตศาสตร์
3.การคิด/การสังเกต
4.ภาษา


แผนการสอน หน่วยไข่
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโชยน์ของไข่
วัตถุประสงค์
1.เด็กสามารถบอกประโยชน์ของไข่ได้
2.เด็กสามารถจัดหมวดหมู่ของไข่แต่ละประเภทได้
3.เด็กสามารถบอกข้อควรระวังของไข่ได้
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้ ประโยชน์ของไข่
ประสบการณ์สำคัญ (ด้านสติปัญญา)
การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน
การจับคู่ การจำแนก และการจัดกลุ่ม
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.ครูพาเด็กๆพูดคุยสนาทนาเรื่องไข่และถามตอบรวมถึงบอกประโยชน์และข้อควรระวังด้วย
"เด็กๆรู้จักไข่อะไรบ้างเอ่ย "
"เด็กๆคนไหนชอบกินไข่บ้าง ยกมือขึ้นให้คุณครูดูหน่อย"
"แล้วเด็กๆรู้หรือเปล่าว่าไข่มีประโยชน์อะไรบ้าง
"และนอกจากไข่จะมีประโยชน์แล้วไข่ก็มีข้อควรระวังด้วยนะ"
ขั้นสอน
2.ครูเล่านิทานเรื่อง"ไข่"ให้เด็กฟัง 
3.เมื่อเด็กฟังนิทานจบ ครูถามเด็กว่าในนิทานเรื่อง "ไข่" ครูพูดถึงไข่อะไรบ้าง มีกี่ประเภท
ขั้นสรุป
4.ครูและเด็กสนาทนาด้วยกันหลังฟังนิทานจบ อาจมีถามตอบอีกครั้ง 
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
-นิทานเรื่องไข่
การวัดและประเมินผล
1.จากการสังเกตเด็กสามารถบอกประโยชน์ของไข่ได้
2.จากการสังเกตเด็กสามารถจัดหมวดหมู่ไข่แต่ละประเภทได้
3.จากการสังเกตเด็กสามารถบอกข้อควรระวังของไข่ได้
บูรณาการ
-วิทยาศาสตร์
-คณิตศาสตร์
-ภาษา


แผนการสอนวันศุกร์ (คุกกิ้งไข่พระอาทิตย์)
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ข้อควรระวังของไข่
2.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้คุณค่าของไข่
3.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การทำอาหารเมนูไข่
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้ การทำอาหารจากไข่เมนูไข่พระอาทิตย์
ประสบการณ์สำคัญ 
ด้านสติปัญญา - สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องไข่จากการลงมือทำอาหาร ทำให้เด็กได้เห็นคุณค่าของไข่
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ 
1. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับประโยชน์และข้อควรระวังของไข่
ขั้นสอน 
2. ครูให้เด็กสังเกตอุปกรณ์และถามเด็กว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง และแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กๆฟัง
3. ครูและเด็กร่วมกันทำอาหารเมนูไข่พระอาทิตย์โดยให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดเตรียมวัตถุดิบและการทำอาหาร
ขั้นสรุป 
4. ครูและเด็กร่วมกันรับประทานอาหารเมนูไข่พระอาทิตย์
5. ล้างมือให้สะอาด
6. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเมนูไข่พระอาทิตย์และให้เด็กนำเสนอว่าตนเองนั้นได้ช่วยทำอะไรบ้าง
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
ข้าวสวย
ไข่ไก่
ซอสปรุงรส
น้ำมัน
กะทะ
ตะหลิว
แครอท
การวัดและการประเมินผล
1. จากการสังเกตเด็กสามารถบอกข้อควรระวังของไข่ได้
2. จากการสังเกตเด็กสามารถบอกประโยชน์ของไข่ได้
3. จากการสังเกตเด็กๆสามารถช่วยครูทำอาหารได้
การบูรณาการ
วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์
ศิลปะ

ทักษะ (Skill)
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการเขียนแผน
- ทักษะการนำเสนอ

เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- บรรยาย
- ให้ทำกิจกรรมกลุ่ม
- ให้คำเเนะนำ

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถเขียนแผนการสอนโดยมีรูปแบบที่ถูกต้องได้ ในทุกๆขั้นตอนไม่ควรมองข้ามสิ่งเล็กน้อย สิ่งไหนที่สามารถใส่เข้าไปแล้วเด็กได้ประสบการณ์เป็นสิ่งที่ควรทำ การทำแผนในเเต่ละหน่วยวันนี้ ทำให้มีข้อมูลจากของตนเองเเละของเพื่อนเป็นต้นทุนความรู้เพื่อนำไปใช้ในอนาคต

ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนตั้งใจทำงาน
ประเมินเพื่อน -  เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการอธิบายให้คำเเนะนำที่ดีกับนักศึกษา

Vocabulary คำศัพท์
Factor ปัจจัย
Root ราก
A bouquest of flowers ดอกช่อ
Baked อบ
Preserve food ถนอมอาหาร