วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Record 13
Tuesday 1 November 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge
       วันนี้เมื่อนักศึกษาเข้าเรียนกันครบทุกคนแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษานำวิดีโอการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่อัพโหลดลงบน Youtube เรียบร้อยแล้ว มาเปิดดูพร้อมกัน
 หลอดมหัศจรรย์

รถพลังงานลม


คานดีดไม้ไอติม


ขวดน้ำนักขนของ


            เมื่อนำเสนอครบทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์ก็ให้ข้อเสนอเเนะเพิ่มเติม คือ การทำคลิปวิดีโอ เราต้องคำนึงถึงเป้าหมายว่าเราจะใช้กับใคร ในที่นี้เรานำไปใช้กับเด็ก ทุกกลุ่มต้องมีปรับแก้ในเรื่อง ภาษา พูดให้ชัดเจน และมีกราฟฟิคสรุปขั้นตอนการทำ เพื่อเป็นเครื่องมือของเราในการบูรณาการ STEM&STEAM

อาจารย์ได้อธิบาย เกี่ยวกับการทำเเผ่นชาร์ต คือต้องคำนึงถึง
1. ด้านร่างกาย
    - การเคลื่อนไหว (ความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อกับอวัยวะ)
    - สุขภาพอนามัย
    - การเจริญเติบโต (ให้ออกกำลัง ให้นอน เพื่อให้ร่างกายมีการพัฒนา สส. นน.)
2. ด้านอารมณ์ จิตใจ
    - การเเสดงออกทางความรู้สึก
    - การรับรู้ความรู้สึกของบุคคลอื่น
3. ด้านสังคม
    - การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
    - การช่วยเหลือตนเอง
4. ด้านสติปัญญา
   - การคิด ได้แก่ คิดเชิงเหตุผล คิดสร้างสรรค์
   - ภาษา

         ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษานั่งจับกลุ่มกันตามหน่วยที่ทำเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อดำเนินการจัดทำแผนการสอนหน่วยของตนเอง


นำหน่วยการสอนมาบูรณาการทั้ง 6 สาระ ได้แก่ 
คณิตศาสตร์ 
   - มาตรฐาน = จำนวนเเละการดำเนินการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ทักษะเเละกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ 
   - ทักษะ = การสังเกต การจำเเนก การวัด การคำนวณ ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา การจัดกระทำและการสื่อความหมายข้อมูล การพยากรณ์
   - กระบวนการ 
   - มาตรฐานวิทยาศาสตร์ 
1. สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
2. สิ่งมีชีวิตกับสิ่งเเวดล้อม
3. สารเเละสมบัติของสาร
4. เเรงเเละการเคลื่อนที่
5. พลังงาน
6. กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
7. ดาราศาสตร์และอวกาศ
8. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาษา
   - ฟัง
   - พูด
   - อ่าน
   - เขียน
ศิลปะ 
   - วาดภาพ/ระบายสี
   - ฉีก/ตัด/ปะ
   - ปั้น
   - ประดิษฐ์
   - เล่นกับสี
   - พิมพ์
สังคม 
   - การมีปฏิสัมพีนธ์กับผู้อื่น
   - การช่วยเหลือตนเอง
   - การมีมารยาททางสังคม
สุขศึกษา/พละศึกษา
   - การเคลื่อนไหว
   - สุขภาพอนามัย
   - การเจริญเติบโต

         เสร็จแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันเขียนผังการออกเเบบกิจกรรม โดยการออกเเบบกิจกรรมนั้นต้องเหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ เด็กได้มีส่วนร่วมลงมือกระทำกับวัตถุผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
6 กิจกรรมหลัก
- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
- กิจกรรมสร้างสรรค์
- กิจกรรมเสรี
- กิจกรรมกลางเเจ้ง
- กิจกรรมเกมการศึกษา


ทักษะ (Skill)
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการคิดในการเชื่อมโยง
- ทักษะการเขียน Mind map

เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- บรรยาย
- ตั้งคำถามให้ตอบ
- ให้ทำกิจกรรมกลุ่ม
- ให้คำเเนะนำ

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถทำของเล่นวิทยาศาสตร์ได้อย่างหลากหลายที่จะนำไปใช้กับเด็ก เช่น หลอดมหัศจรรย์ ขวดน้ำนักขนของ รถพลังงานลม เป็นต้น
- สามารถออกแบบกิจกรรมให้มีการบูรณาการได้ในทุกกลุ่มสาระ คือ ในหน่วยที่เราจัดนั้นต้องบูรณาการได้หลากหลาย มีการออกเบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิทยาศาสตร์ เช่น หน่วยไข่ เรื่องการเปลี่ยนแปลง ออกเเบบกิจกรรมเป็นกิจกรรมถนอมไข่ เชื่อมโยงกับมาตรฐานที่ 3 สารและสมบัติของสาร

ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนตั้งใจทำงาน
ประเมินเพื่อน -  เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการให้คำเเนะนำที่ดีกับนักศึกษา ตั้งใจสอน

Vocabulary คำศัพท์
Growth การเจริญเติบโต
Expression การเเสดงออก
Recognition การรับรู้
Interaction ปฏิสัมพันธ์
Reason เหตุผล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น