ของเล่นวิทยาศาสตร์
ไฟฉายเเสนสนุก
วัสดุ อุปกรณ์
1. ไฟฉาย
2. กระดาษแก้ว 3 สี ได้แก่ สีเเดง สีน้ำเงิน สีเหลือง
3. กระดาษเเข็ง
4. กระดาษสี
5. หนังยาง
6. เทปกาว
ขั้นตอนการทำ
1. ตัดกระดาษเเข็งล้อมรอบหัวไฟฉายให้มีขนาดใหญ่กว่าหัวไฟฉายเล็กน้อย แล้วเย็บติดด้วยเทปกาว ทำทั้งหมด 3 อัน (อาจารย์แนะนำว่าสามารถใช้เเกนกระดาษทิชชู่ได้)
2. ตัดกระดาษแก้วทั้ง 3 สีเป็นรูปสี่เหลี่ยม เพื่อให้สามารถนำไปครอบบนกระดาษเเข็งได้
3. นำกระดาษแก้วที่ตัดเรียบร้อยแล้ว ไปครอบบนกระดาษเเข็งรัดด้วยหนังยางให้แน่น แล้วใช้กระดาษสีหุ้มด้านนอกไว้จนครบทุกสี
วิธีการเล่น
นำกระดาษแก้วแต่ละสีมาครอบกัน แล้วเปิดไฟฉาย สังเกตว่าแสงกลายเป็นสีอะไร เล่นสลับกันจนครบทุกสี
หลักการทางวิทยาศาสตร์
การมองเห็นสีต่างๆบนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น เเสงขาวอาจเกิดจากเเสงเพียง 3 สีรวมกัน เเสงทั้ง 3 สี ได้แก่ เเสงสีแดง เเสงสีเขียน เเละเเสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่าสีปฐมภูมิ และถ้านำเเสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ซึ่งสีทุติยภูมิแต่ละสีจะมีความเเตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของเเสง
เรามองเห็นวัตถุที่เปล่งเเสงด้วยตัวเองไม่ได้ก็เพราะมีเเสงสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้าสู่นัยต์ตาของเรา เเละสีของวัตถุก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเเสงที่สะท้อนนั้นด้วย โดยวัตถุสีน้ำเงินจะสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกไปมากที่สุด สะท้อนเเสงสีข้างเคียงออกไปบ้างเล็กน้อย เเละดูดกลืนเเสงสีอื่นๆไว้หมด ส่วนวัตถุสีเเดงจะสะท้อนเเสงสีเเดงออกไปมากที่สุด มีเเสงข้างเคียงสะท้อนออกไปเล็กน้อย และดูดกลืนเเสงสีอื่นๆไว้หมด สำหรับวัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกแสงสีและสะท้อนกลับได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น