วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ของเล่นวิทยาศาสตร์
ไฟฉายเเสนสนุก
วัสดุ อุปกรณ์
1. ไฟฉาย
2. กระดาษแก้ว 3 สี ได้แก่ สีเเดง สีน้ำเงิน สีเหลือง
3. กระดาษเเข็ง
4. กระดาษสี
5. หนังยาง
6. เทปกาว
ขั้นตอนการทำ
1. ตัดกระดาษเเข็งล้อมรอบหัวไฟฉายให้มีขนาดใหญ่กว่าหัวไฟฉายเล็กน้อย แล้วเย็บติดด้วยเทปกาว ทำทั้งหมด 3 อัน (อาจารย์แนะนำว่าสามารถใช้เเกนกระดาษทิชชู่ได้)

2. ตัดกระดาษแก้วทั้ง 3 สีเป็นรูปสี่เหลี่ยม เพื่อให้สามารถนำไปครอบบนกระดาษเเข็งได้

3. นำกระดาษแก้วที่ตัดเรียบร้อยแล้ว ไปครอบบนกระดาษเเข็งรัดด้วยหนังยางให้แน่น แล้วใช้กระดาษสีหุ้มด้านนอกไว้จนครบทุกสี

วิธีการเล่น
      นำกระดาษแก้วแต่ละสีมาครอบกัน แล้วเปิดไฟฉาย สังเกตว่าแสงกลายเป็นสีอะไร เล่นสลับกันจนครบทุกสี

หลักการทางวิทยาศาสตร์
       การมองเห็นสีต่างๆบนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น เเสงขาวอาจเกิดจากเเสงเพียง 3 สีรวมกัน เเสงทั้ง 3 สี ได้แก่ เเสงสีแดง เเสงสีเขียน เเละเเสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่าสีปฐมภูมิ และถ้านำเเสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ซึ่งสีทุติยภูมิแต่ละสีจะมีความเเตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของเเสง

           เรามองเห็นวัตถุที่เปล่งเเสงด้วยตัวเองไม่ได้ก็เพราะมีเเสงสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้าสู่นัยต์ตาของเรา เเละสีของวัตถุก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเเสงที่สะท้อนนั้นด้วย โดยวัตถุสีน้ำเงินจะสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกไปมากที่สุด สะท้อนเเสงสีข้างเคียงออกไปบ้างเล็กน้อย เเละดูดกลืนเเสงสีอื่นๆไว้หมด ส่วนวัตถุสีเเดงจะสะท้อนเเสงสีเเดงออกไปมากที่สุด มีเเสงข้างเคียงสะท้อนออกไปเล็กน้อย และดูดกลืนเเสงสีอื่นๆไว้หมด สำหรับวัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกแสงสีและสะท้อนกลับได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น


วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Record 12
Tuesday 25 October 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
          วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องกาลเทศะในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการเป็นครูของนักศึกษาทุกคน
                    ต่อมาอาจารย์ให้นำเสนอ Mind map แต่ละหน่วยที่แก้ไขแล้วและให้คำเเนะนำเพิ่มเติม

หน่วยต้นไม้

หน่วยผลไม้

หน่วยปลา

หน่วยยานพาหนะ

หน่วยไข่

หน่วยอากาศรอบตัวฉัน

หน่วยดอกไม้

             อาจารย์เเนะนำว่า การทำ Mind map เป็นการทำงานเหมือนเส้นสมอง คือ ขยายความคิดเป็นเส้นๆเเตกออกไปทางด้านขวา เพื่อจะทำให้จำได้ และอาจารย์ได้เพิ่มเติมเนื้อหาใน 5 หัวข้อให้แต่ละกลุ่ม คือ ชนิด/ประเภท ลักษณะ การดูแลรักษา/การเปลี่ยนเเปลง/ปัจจัยการดำรงชีวิต/การถนอม ประโยชน์ และโทษหรือข้อควรระวัง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษา เชื่อมโยงจากหน่วยของตนเองกับมาตรฐานวิทยาศาสตร์

สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดํารงชีวิต 
มาตรฐาน ว 1.1 : เขาใจหนวยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธของโครงสรางและ หนาที่ของระบบตางๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทํางานสัมพันธกันมีกระบวนการสืบเสาะหาความรูสื่อสารสิ่งที่ เรียนรูและนําความรูไปใชในการดํารงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 : เขาใจกระบวนการและความสําคัญของการถายทอดลักษณะทาง พันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใชเทคโนโลยีชีวภาพที่มี ผลตอมนุษยและสิ่งแวดลอม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรูและจิตวิทยาศาสตร สื่อสารสิ่งที่ เรียนรูและนําความรูไปใชประโยชน 
สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดลอม
มาตรฐาน ว 2.1 : เขาใจสิ่งแวดลอมในทองถิ่นความสัมพันธระหวางสิ่งแวดลอมกับ สิ่งมีชีวิต ความสัมพันธระหวางสิ่งมีชีวิตตางๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู และจิตวิทยาศาสตร สื่อสารสิ่งที่เรียนรูและนําความรูไปใชประโยชน
มาตรฐาน ว 2.2 : เขาใจความสําคัญของทรัพยากรธรรมชาติการใชทรัพยากรธรรมชาติ ในระดับทองถิ่น ประเทศ และโลกมีกระบวนการสืบเสาะหาความรูและจิตวิทยาศาสตรสื่อสาร สิ่งที่เรียนรูและนําความรูไปใชในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมในทองถิ่นอยางยั่งยืน
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร 
มาตรฐาน ว 3.1 : เขาใจสมบัติของสาร ความสัมพันธระหวางสมบัติของสารกับ โครงสรางและแรงยึดเหนียวระหวางอนุภาคมีกระบวนการสืบเสาะหาความรูและจิตวิทยาศาสตร สื่อสารสิ่งที่เรียนรูและนําความรูไปใชประโยชน
มาตรฐาน ว 3.2 : เขาใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรูและจิตวิทยาศาสตร สื่อสารสิ่งที่เรียนรูและนําความรูไปใชประโยชน์
สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่ 
มาตรฐาน ว 4.1 : เขาใจธรรมชาติของแรงแมเหล็กไฟฟา แรงโนมถวงและรงนิวเคลียร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรูสื่อสารสิ่งที่เรียนรูและนําความรูไปใชประโยชนอยางถูกตองและ มีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 : เขาใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบตางๆ ของวัตถุในธรรมชาติมี กระบวนการสืบเสาะหาความรูและจิตวิทยาศาสตรสื่อสารสิ่งที่เรียนรูและนําความรูไปใชประโยชน
สาระที่ 5 : พลังงาน 
มาตรฐาน ว 5.1 : เขาใจความสัมพันธระหวางพลังงานกับการดํารงชีวิต การเปลี่ยน รูปพลังงาน ปฏิสัมพันธระหวางสารและพลังงาน ผลของการใชพลังงานตอชีวิตและสิ่งแวดลอม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรูสื่อสารที่เรียนรูและนําความรูไปใชประโยชน 
สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก 
มาตรฐาน ว 6.1 : เขาใจกระบวนการตางๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธของกระบวนการตางๆ ที่มีผลตอการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และ สัณฐานของโลกมีกระบวนการสืบเสาะหาความรูและจิตวิทยาศาสตร สื่อสารสิ่งที่เรียนรูและ นําความรูไปใชประโยชน
สาระที่ 7 : ดาราศาสตรและอวกาศ 
มาตรฐาน ว 7.1 : เขาใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแล็กซีปฏิสัมพันธภายใน ระบบสุริยะและผลตอสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรูและจิตวิทยาศาสตร สื่อสารสิ่งที่เรียนรูและนําความรูไปใชประโยชน
มาตรฐาน ว 7.2 : เขาใจความสําคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นํามาใชในการสํารวจ อวกาศและทรัพยากรธรรมชาติดานการเกษตรและการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรูและนําความรู ไปใชประโยชนอยางมีคุณธรรมตอชีวิตและสิ่งแวดลอม
สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี 
มาตรฐาน ว 8.1 : ใชกระบวนการทางวิทยาศาสตรและจิตวิทยาศาสตรในการ สืบเสาะหาความรู การแกปญหารูวาปรากฏการณทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นสวนใหญมีรูปแบบที่ แนนอนสามารถอธิบายและตรวจสอบไดภายใตขอมูลและเครื่องมือที่มีอยูในชวงเวลานั้นๆ เขาใจ วาวิทยาศาสตรเทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดลอมมีความเกี่ยวของสัมพันธกัน

            เมื่อเข้าใจแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาเเบ่งงานกันรับผิดชอบ คือ รับผิดชอบคนละหัวข้อในหน่วยของกลุ่มตนเอง โดยให้คิดกิจกรรม แล้วตรวจสอบดูว่า กิจกรรมนั้นตรงกับมาตรฐานวิทยาศาสตร์ข้อไหน

ทักษะ (Skill)
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการเรียนรู้
- ทักษะการคิดในการเชื่อมโยง
- ทักษะการเขัยน Mind map

เทคนิคการสอน (Technique teaching)
- บรรยาย
- ตั้งคำถามให้ตอบ
- ให้คำเเนะนำ

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถจัดกิจกรรมได้โดยมีความรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง และการจัดกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับมาตรฐานวิทยาศาสตร์ที่ถูกกำหนดเป็นบรรทัดฐานขึ้นมาแล้ว และในแต่ละหน่วยที่มีการนำเสนอวันนี้ ทุกหน่วยจะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิทยาศาสตร์อยู่แล้วทั้งหมด เพียงเเค่เราควรนำเนื้อหาเหล่านั้นมาจัดเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก เพราะเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็กนั่นเอง

ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน -  เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการให้คำเเนะนำที่ดีกับนักศึกษา ตั้งใจสอน

Vocabulary คำศัพท์
Livelihood การดำรงชีวิต
Drying การอบแห้ง
sunlight แสงแดด
wheel ล้อรถ
composition ส่วนประกอบ

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Record 11
Tuesday 18 October 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
      เริ่มต้นวันนี้ด้วยการทบทวนเนื้อหาในสัปดาห์ที่ผ่านมาคือเรื่อง STEM 
*การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการลงมือกระทำและการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อม (เพียเจต์)*
            จากนั้นเป็นการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์งานกลุ่มที่นำไปแก้ไขมาเรียบร้อยแล้ว

          รางลูกกลิ้ง เป็นการไหลตามแรงโน้มถ่วง เมื่อมีความลาดเอียงจะทำให้วัตถุตกสู่พื้นได้ช้าลง 
อาจารย์เเนะนำว่า หากของเล่นตกแต่งมากเด็กจะเสียโอกาสในด้านทักษะการสังเกตลูกแก้วที่ไหลลงบนท่อ ชิ้นงานควรเก็บรายละเอียดให้เรียบร้อยสามารถยืดหยุ่นได้ และถ้าหากเด็กได้มีโอกาสเลือกความลาดเอียงเองจะน่าสนใจมากขึ้น

            เป่าถุงตุ๊กตา เป็นการเป่าลมผ่านหลอดเข้าไปในถุง ทำให้ถุงพองขึ้นมาและเมื่อสูบลมออกถุงก็จะยุบลงตาม
อาจารย์แนะนำว่า ของเล่นนี้ไม่ควรนำเข้ามุมเพราะหลอดที่ใช้เป่าไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ แต่เป็น Idea ในการจัดกิจกรรม คือให้เด็กทำของเล่นด้วยตนเอง ได้ทำเองเล่นเอง

            กระดานลูกกลิ้ง ชิ้นนี้ใช้หลักการเดียวกับชิ้นเเรก คือหลักความลาดเอียง การเคลื่อนที่ของลูกแก้วผ่านความลาดเอียงตามองศา ของเล่นชิ้นนี้เด็กสามารถกำหนดความลาดเอียงได้ด้วยตนเอง

           *การจัดการเรียนการสอนทำหรับเด็ก ควรเป็นการสอนเเบบการบูรณาการ ซึ่งหมายถึง การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลายๆวิชาด้วยกันผ่านหน่วยหรือหัวเรื่อง หน่วยที่ได้มาจาก เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก เรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก หรือเรื่องราวที่เด็กสนใจ (สาระสำคัญ) และภาษากับคณิตศาสตร์ คือเครื่องมือในการสื่อสารและการเรียนรู้ เช่น การฟัง พูด อ่าน เขียน หรือรูปร่างรูปทรง ซึ่งล้วนอยู่ในชีวิตประจำวัน ทุกสิ่งรอบตัวเราล้วนเกี่ยวข้องกับภาษาและคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ะต้องจัดให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ คือ การที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 การมีอิสระในการเล่น การเลือกเเละตัดสินใจด้วยตนเอง*

             จากนั้นเป็นการทำกิจกรรม กิจกรรมนี้คือ กิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน คิดหน่วยการสอนที่สอดคล้องกับสาระสำคัญ และเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ อาจารย์แจกกระดาษบรูฟให้กลุ่มละ 1 แผ่น เพื่อทำเป็น mind map เส้นสมอง ขยายเส้นความคิดในหน่วยนั้น เสร็จแล้วออกมานำเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไข

หน่วยไข่ 
*แก้ไข ประเภท - ไข่เเมลง
ข้อควรระวัง - หากอยู่ในที่อากาศร้อนอาจเน่าได้ หากถือไม่ดีจะหล่นแตก ควรกินอย่างพอประมาณ

หน่วย ยานพาหนะ
*เพิ่มเติม ลักษณะ - รูปทรง ส่วนประกอบ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ - ก๊าซ น้ำมัน สิ่งมีชีวิต
ประโยชน์เชิงพาณิชย์ - สร้างอาชีพ เช่น ช่างซ่อมรถ คนขายรถ 

หน่วย ต้นไม้
*้แก้ไข ประเภท - ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก
ลักษณะ - เพิ่มกลิ่น 

หน่วย ผลไม้
*แก้ไข ประเภท - ผลเดี่ยว ผลกลุ่ม
ลักษณะ - เพิ่ม ขนาด ส่วนประกอบ 

หน่วย ปลา
*แก้ไข้ ชนิด - ปลานิล ปลาดุก ปลาตะเพียน

หน่วยดอกไม้
*แก้ไข ลักษณะ - สี กลิ่น ขนาด ส่วนประกอบ
การถนอม - อบแห้ง

หน่วย อากาศรอบตัวฉัน
*แก้ไข การเปลี่ยนแปลง - ฤดูกาล

ทักษะ (Skill)
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการลงมือปฏิบัติ
- ทักษะการเขียน Mind map
- ทักษะการคิด
- ทักษะการนำเสนอ

เทคนิคการสอน (Technique teaching
- บรรยาย
- ตั้งคำถามให้ตอบ
- ให้ลงมือปฏิบัติ
- ให้คำเเนะนำ

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถประดิษฐ์ของเล่นที่ส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็น ของเล่นสำหรับจัดเข้ามุมประสบการณ์ หรือของเล่นที่ให้เด็กทำด้วยตนเอง เช่น รางลูกกลิ้ง กระดานลูกแก้ว หรือเป่าถุงตุ๊กตา สามารถนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับหน่วยที่เราสอนได้ เช่น สอนหน่วยผลไม้ สามารถประยุกต์จัดกิจกรรมให้เด็กทำของเล่นเป่าถุงรูปผลไม้ได้โดยให้เด็กได้ตกเเต่งด้วยตนเอง
- มีความรู้ในการเลือกหน่วยการสอนที่นำไปใช้สอนเด็ก คือ เลือกให้เหมาะสมกับเด็กเป็นสิ่งรอบตัวที่เด็กสนใจ และควรมีการหาข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยที่จะสอนไว้แล้ว โดยการจัดทำเป็น Mind map 5 หัวข้อ 5 วัน ที่จะนำไปสอนเด็ก

ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงาน
ประเมินเพื่อน -  เพื่อนตั้งใจทำงานของกลุ่มตนเอง
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ยิ้มเเย้มเเจ่มใส มีกิจกรรมมาให้ทำ และคอยให้คำเเนะนำเป็นอย่างดี

Vocabulary คำศัพท์
Facilities อำนวยความสะดวก
Tilt ความลาดเอียง
integration การบูรณาการ
determine ตัดสินใจ
Season ฤดูกาล

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Record 10
Tuesday 11 October 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
         เริ่มต้นการเรียนวันนี้ ด้วยการส่งของเล่นงานกลุ่มที่อาจารย์ให้นำไปปรับปรุงแก้ไขเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเเละอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่นเพื่อเขียนขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่นตนเอง โดยใช้คำที่เข้าใจง่าย กระชับ ได้ใจความ เพื่อนำไปใช้กับเด็ก อีกทั้งเป็นการบูรณาการ STEM&STEAM 

เสร็จแล้วให้ทุกคนนำมาติดที่หน้ากระดาน
                                                                                                                                                             
          เมื่ออาจารย์ได้อธิบายไปแล้วว่า ทำไมถึงต้องเขียนขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่นลงบนกระดาษ ทั้งที่ทำเป็นไฟล์ส่งไปก่อนหน้านี้แล้ว เพราะอาจารยต้องการนำมาบูรณาการ STEM&STEAM ในที่นี้คือตัว T เทคโนโลยี
          จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน แล้วให้นักศึกษาระดมความคิดเลือกของเล่นมา 1 ชิ้น เพื่อนำมาจัดกิจกรรมกับเด็ก โดยทำวีดิโอขั้นตอนการทำของเล่นลงใน Youtube กลุ่มของเราลงความเห็นกันเลือกของเล่น คานดีดไม้ไอติม เพราะเป็นของเล่นที่ทำง่าย เด็กสามารถทำได้ และอาจารย์แนะนำว่าดี เพราะเมื่อทำของเล่นเสร็จแล้วสามารถนำมาเเข่งขันได้ว่าคานดีดของใครสามารถดีดได้ดีกว่ากัน ให้เด็กสังเกตเห็นข้อเเตกต่าง จากนนั้นก็จัดเเบ่งหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มว่าเเต่ละคนมีหน้าที่ทำในส่วนใด เเล้วออกไปนำเสนอ

                ขั้นตอนวิธีการ กลุ่มเราจะใช้ Youtube ในการนำเสนออุปกรณ์และขั้นตอนการทำของเล่น และถ้าหากในดรงเรียนไม่มีเครื่องสำหรับเปิดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราจะใช้แผ่นชาร์ตแทน ขั้นสอนจะเริ่มจากให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ แล้วตั้งคำถามกับเด็กเพื่อนำไปสู่การประดิษฐ์ของเล่น จากนั้นก็ให้เด็กปฏิบัติ และเล่นของเล่นของตนเอง เเล้วสรุปผลเป็นขั้นตอนสุดท้าย

คานดีดไม้ไอติม

เครื่องเป่าลม

รถพลังงานลม

ขวดน้ำนักขนของ

ทักษะ (Skill)
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการลงมือปฏิบัติ
- ทักษะการตัดสินใจ
- ทักษะการคิด
- ทักษะการนำเสนอ

เทคนิคการสอน (Technique teaching
- บรรยาย
- ให้ลงมือปฏิบัติ
- ให้คำเเนะนำ

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถนำกิจกรรมมาบูรณาการ STEM&STEAM ให้ครบทุกตัวได้ คือ ของเล่นเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ (S) การเขียนขผังกราฟขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่นคือ เทคโนโลยี (T) การออกเเบบ การวางแผนเป็นเอ็นจิเนียร์ริ่ง (E) ลำดับขั้นตอน จำนวนอุปกร์หรือรูปทรงของชิ้นงาน เป็นคณิตศาสตร์ (M)
- สามารถนำกิจกรรมนำไปใช้กับเด็ก โดยครูมีบทบาทในการตั้งคำถามเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ

ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน -  เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือ ตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมมาให้ทำ และคอยให้คำเเนะนำเป็นอย่างดี

Vocabulary คำศัพท์
Step ขั้นตอน
Springing การดีด
Blowers เป่าลม
Energy พลังงาน
Different แตกต่าง